วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

คำขวัญประจำอำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด Ko Kut

 


คำขวัญประจำอำเภอเกาะกูด  จังหวัดตราด Ko Kut

คำขวัญประจำอำเภอเกาะกูด  จังหวัดตราด Ko Kut


เกาะกูดเป็นอำเภอหนึ่งใน 7  อำเภอของจังหวัดตราด Ko Kut

มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในตราด รองจากเกาะช้างหรือเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ 

( อันดับ 1 เกาะภูเก็ต )  อยู่สุดท้ายทางทิศตะวันออกของประเทศไทยในน่านน้ำทะเลตราด

อันดามันแห่งทะเลตะวันออก เป็นอำเภอที่มีประชากรน้อยที่สุดในประเทศไทย สถานที่ท่องเที่ยวยอด

นิยมของไทย


คำขวัญประจำอำเภอเกาะกูด  จังหวัดตราด Ko Kut


อำเภอเกาะกูด แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 2  ตำบล 8  หมู่บ้าน ได้แก่



1.เกาะหมาก (Ko Mak) 2 หมู่บ้าน


2.เกาะกูด (Ko Kut) 6 หมู่บ้าน



คําขวัญประจําอำเภอเกาะกูด  มีอยู่ว่า


“ ฟ้าใส ทะเลสวย รวยธรรมชาติ

หาดทรายสะอาด ดาษดื่นปะการัง ”



1. ฟ้าใส ทะเลสวย รวยธรรมชาติ : เป็นคำสรรเสริญ ความงามของสถานที่ท่องเที่ยว นั่นเอง


2. หาดทรายสะอาด : มีหาดทรายขาวสะอาดสวยงาม น้ำทะเลใส


3. ดาษดื่นปะการัง :  ดำน้ำดูปะการัง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะรัง กิจกรรมยอดนิยมของนักท่องเที่ยว

ที่เดินทางไปเกาะกูด




จุดที่น่าสนใจไปเยือนของ อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด แหล่งท่องเที่ยว


1. น้ำตกคลองเจ้า


2. หาดบางเบ้า


3. น้ำตกคลองยายกี๋


4. น้ำตกห้วงน้ำเขียว


5. The Old Trees ต้นไม้ยักษ์ เกาะกูด


6. หาดคลองเจ้า


7. บ้านอ่าวใหญ่


8. เกาะกระดาด


9. Sabai Dog, เกาะกูด


10. แหลมเทียน


11. หาดยายกี๋


12. หาดคลองระหาน


13. สะพานสู่ฝัน


14. วัดอ่าวสลัด


15. หาดอ่าวตะเภา


16. แหลมตุ๊กตา


17. แหลมอ่าวใหญ่


18. หาดศาลเจ้า


19. เกาะกูด คลองหินบีช


20. แหลมกระดุน




วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

คำขวัญประจำอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ Kao Liao

 


คำขวัญประจำอำเภอเก้าเลี้ยว  จังหวัดนครสวรรค์

คำขวัญประจำอำเภอเก้าเลี้ยว  จังหวัดนครสวรรค์

คำขวัญประจำอำเภอเก้าเลี้ยว  จังหวัดนครสวรรค์ Kao Liao


เก้าเลี้ยวเป็นอำเภอหนึ่งใน 15  อำเภอของจังหวัดนครสวรรค์ Kao Liao


มีฐานะเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบรรพตพิสัย  ต่อมาปี 2512 ได้ยกฐานะเป็น กิ่งอำเภอตามประกาศ

ของกระทรวงมหาดไทย การปกครองขึ้นกับอำเภอ บรรพตพิสัย ต่อมาปี 2516 ได้เป็อำเภออย่างเป็น

ทางการโดยมีการเปิดป้ายที่ว่าการอำเภอ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2516

เก้าเลี้ยว สันนิษฐานกันสองประการคือ อาจเพี้ยนมาจากคำว่า "เก๋าเหลี่ยว" หรือ "เก๋าเลี่ยว" แปลว่า "

ถึงแล้ว" อาจจะมาจากพ่อค้าชาวจีน  ตะโกนบอกนายท้ายเรือว่ามาถึงแล้ว น่าจะหมายถึงตลาดเก้าเลี้ยว

ในปัจจุบัน หรืออีกทฤษฏีนึงอาจมาจากว่าเส้นทางแม่น้ำในการเดินทางค้าขาย นั้นมีความคดเคี้ยวมาก 

เดินทางออกจากนครสวรรค์ไปได้ 9 โค้ง หรือ 9 เลี้ยว จึงจะมาถึงที่แห่งนี้



อำเภอเก้าเลี้ยว แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น  5 ตำบล  44 หมู่บ้าน ได้แก่



1. มหาโพธิ (Maha Phot) 5 หมู่บ้าน

2. เก้าเลี้ยว (Kao Liao) 5 หมู่บ้าน

3. หนองเต่า (Nong Tao) 10 หมู่บ้าน

4. เขาดิน (Khao Din) 11 หมู่บ้าน

5. หัวดง (Hua Dong) 12 หมู่บ้าน




คําขวัญประจําอำเภอเก้าเลี้ยว  มีอยู่ว่า


“ เก้าคุ้งคดเคี้ยว เก้าเลี้ยวเลื่องลือ

มะลิ ฝรั่งขึ้นชื่อ นับถือหลวงพ่อเฮง ”



1. เก้าคุ้งคดเคี้ยว เก้าเลี้ยวเลื่องลือ : น่าจะเป็นที่มาจากชื่อ ทางเดินเรือสินค้าสมัยก่อนดั่งที่ประวัติว่าไว้

 ว่ามีหลายโค้ง คดเคี้ยว


2. มะลิ ฝรั่งขึ้นชื่อ : มะลิขาวสะพรั่ง ฝรั่งอร่อย พืชเศรษฐกิจของอำเภอ จังหวัดนครสวรรค์  ถือเป็นอีกหนึ่ง

จังหวัดที่มีการปลูกดอกมะลิจำนวนมาก โดยเฉพาะที่อำเภอเก้าเลี้ยว ฝรั่งปลอดสารพิษ ของเก้าเลี้ยว 

การทำน้ำฝรั่ง และอื่นๆ


3. นับถือหลวงพ่อเฮง : วัดเขาดิน จ.นครสวรรค์ พระเกจิชื่อดัง มีชื่อเสียงด้านวัตถุมงคลประเภทเครื่องราง

ของขลัง วัตถุมงคลหลวงพ่อเฮงผู้มีตบะบารมีอันแก่กล้า




จุดที่น่าสนใจไปเยือนของ อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ แหล่งท่องเที่ยว


1. ตลาดเจ้าค่ะ นครสวรรค์


2. สะพานไม้ไผ่บ้านหาดเสลา


3. สวนสืบสาน


4. แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร(สวนย่าพิมพ์)


5. แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร : ตำบล เขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว


6. วัดเขาดินใต้


7. สวนธรรมหาดเสลา


8. ศาลเจ้าพ่อหมอ


9. วัดหาดเสลา (วัดไพศาลอุปถัมภ์)


10. วัดเก้าเลี้ยว นครสวรรค์


11. วัดเขาดินเหนือ


12. สวนฝรั่งแจ่มไทย








วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

คำขวัญประจำอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

 


คำขวัญประจำอำเภอเกษตรสมบูรณ์  จังหวัดชัยภูมิ

คำขวัญประจำอำเภอเกษตรสมบูรณ์  จังหวัดชัยภูมิ


คำขวัญประจำอำเภอเกษตรสมบูรณ์  จังหวัดชัยภูมิ



เกษตรสมบูรณ์เป็นอำเภอหนึ่งใน 16  อำเภอของจังหวัดชัยภูมิ  Kaset Sombun

เป็นชุมชนเก่าแก่ มีประวัติการตั้งถิ่นฐานยาวนาน มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี เคยเป็นชุมชน

ทางผ่าน ที่เป็นทางช่วงจากกรุงเทพมหานครกับกรุงเวียงจันทน์ แต่ก่อนการรวมพื้นที่ของทางเมืองภูเขียว

กับเมืองยาง มาเป็น อำเภอเกษตรสมบูรณ์ ต่อมา ปี 2451 ยุบอำเภอเกษตรสมบูรณ์ ลงเป็น กิ่งอำเภอ

เกษตรสมบูรณ์ขี้นต่อ อ.ภูเขียว ปี 2460 แปลงชื่อกิ่งอำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอภูเขียว เป็น กิ่งอำเภอ

บ้านยาง ปี 2481 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอบ้านยาง อำเภอผักปัง (อำเภอภูเขียว) เป็น อำเภอเกษตรสมบูรณ์ 


อำเภอเกษตรสมบูรณ์ แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11  ตำบล  144 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บ้านยาง (Ban Yang)

2. บ้านหัน (Ban Han)

3. บ้านเดื่อ (Ban Duea)

4. บ้านเป้า (Ban Pao)

5. กุดเลาะ (Kut Lo)

6. โนนกอก (Non Kok)

7. สระโพนทอง (Sa Phon Thong)

8. หนองข่า (Nong Kha)

9. หนองโพนงาม (Nong Phon Ngam)

10. บ้านบัว (Ban Bua)

11. โนนทอง (Non Thong)



คําขวัญประจําอำเภอเกษตรสมบูรณ์  มีอยู่ว่า


“ ดินแดนป่าสอนลอน สะออนสาวบ้านแต้

งามแท้แลคิ้งไกล น้ำพรมไหลผ่าน

สงกรานต์ภูกุ้มข้าว นมัสการพระเจ้าองค์ตื้อ

ลือพระไกรสิงหนาท พระธาตุกุดจอก

นามบ่งบอกคือเกษตรสมบูรณ์ ”


1. ดินแดนป่าสอนลอน :  เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่อยู่ในอำเภอเกษตรสมบูรณ์  คือ ป่าสลอน แถวเป็น

แนวกัน แบบเดียวกันเห็นเป็นป่าสุดลูกหูลูกตา 


2. สะออนสาวบ้านแต้ : ประเพณีอีสาน สืบสานตำนานสาวบ้านแต้เอกลักษณ์ของอำเภอเกษตรสมบูรณ์

 ตำนานสาวบ้านแต้ขี่สักกะยาน  หมู่บ้านท่องเที่ยวตำนานสาวบ้านแต้


3. งามแท้แลคิ้งไกล : ภูคิ้ง ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ยอดเขาที่สูงที่สุด มีความสูงประมาณ 1,300 เมตร

จากระดับน้ำทะเล เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ( ทุ่งกะมัง )ธรรมชาติสวยงาม ร่มรื่นตลอดทั้งปี 

เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ในบริเวณเทือกเขาภูเขียว


4. น้ำพรมไหลผ่าน :  ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เขื่อนชลประทานน้ำพรม บ้านโนนเขวา หมู่ที่ 2 ต.โนนทอง

 อ.เกษตรสมบูรณ์  “ลำน้ำพรม” แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ล่องแพหาดน้ำพรม เชื่อนชลประทานน้ำพรม


5. สงกรานต์ภูกุ้มข้าว : ประเพณีท้องถิ่น เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมและศูนย์รวมแห่งความสามัคคี

ของชุมชนในตำบลกุดเลาะ สงกรานต์ตำบลกุดเลาะ เอาบุญภูกุ้มข้าว 


6. นมัสการพระเจ้าองค์ตื้อ :  เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย  เป็นสถานที่สำคัญของตำบลบ้านยาง  

โบราณสถาน ปูชนียสถานประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ ที่สำคัญของตำบลบ้านยาง 


7. ลือพระไกรสิงหนาท : เจ้าเมืองคนแรก พัฒนาบ้านเมืองได้เจริญขึ้น


8. พระธาตุกุดจอก :  บ้านยางน้อย หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านยาง โบราณสถานที่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นใน

พุทธศตวรรษที่ 19-20 สถานที่เก่าแก่และสำคัญ


9. นามบ่งบอกคือเกษตรสมบูรณ์ : คำยกยอสรรเสริญ ชื่อชมในชื่อและอำเภอ ซึ่งมีทั่วไปในคำขวัญ

หลายๆจังหวัดและหลายๆอำเภอ ในบริบทที่แตกต่างกัน




จุดที่น่าสนใจไปเยือนของ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ แหล่งท่องเที่ยว

1. พระธาตุงูซวง ตำบลบ้านยาง

2. อนุสาวรีย์พระไกรสิงหนาท

3. แก้งตาดไซ อำเภอเกษตรสมบูรณ์

4. อนุสาวรีย์พระครูพิพัฒน์ศิลคุณ (หลวงปู่ต้อน)

5. พระธาตุกุดจอก

6. แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สวนป่าภูนกแซว

7. เขื่อนห้วยกุ่ม

8. ภูกุ้มข้าว

9. ผาหัวนาค อุทยานแห่งชาติภูแลนคา

10. ภูมิทรัพย์ฟาร์มแพะ

11. ทุ่งกะมัง

12. ป่าปรงพันปี Chaiyaphum Cycad Forest

13. น้ำตกแหลออนซอน

14. สุสานหินโบราณ บ้านแหลออนซอน

15. หินต้นไทร

16. จุดชมวิวลำน้ำพรม

17. ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวผาหัวนาค อุทยานแห่งชาติภูแลนคา




 

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

คำขวัญประจำอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

 


คำขวัญประจำอำเภอเกษตรวิสัย  จังหวัดร้อยเอ็ด

คำขวัญประจำอำเภอเกษตรวิสัย  จังหวัดร้อยเอ็ด

คำขวัญประจำอำเภอเกษตรวิสัย  จังหวัดร้อยเอ็ด


เกษตรวิสัยเป็นอำเภอหนึ่งใน 20  อำเภอของจังหวัดร้อยเอ็ด  Kaset Wisai


เป็นชุมชนเก่าแก่มาแต่โบราณ เดิมเป็นเมืองเกษตรวิสัยตั้งอยู่แถบบริเวณวัดธาตุ ต่อมาได้มีการเปลี่ยน

ชื่อเมืองเกษตรวิสัย เป็นอำเภอหนองแวง แต่ภายหลังได้กลับมาใช้ชื่อเกษตรวิสัยเหมือนเดิม 

อำเภอเกษตรวิสัยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด  มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัด สุรินทร์ มหาสารคาม



อำเภอเกษตรวิสัย แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น  13 ตำบล  177 หมู่บ้าน ได้แก่


1.เกษตรวิสัย 18  หมู่บ้าน


2.เมืองบัว 13  หมู่บ้าน


3.เหล่าหลวง 15  หมู่บ้าน


4.สิงห์โคก 13  หมู่บ้าน


5.ดงครั่งใหญ่ 13  หมู่บ้าน


6.บ้านฝาง 17  หมู่บ้าน


7.หนองแวง 15  หมู่บ้าน


8.กำแพง 12  หมู่บ้าน


9.กู่กาสิงห์ 13  หมู่บ้าน


10.น้ำอ้อม 9  หมู่บ้าน


11.โนนสว่าง 14  หมู่บ้าน


12.ทุ่งทอง 10  หมู่บ้าน


13.ดงครั่งน้อย 14  หมู่บ้าน





คําขวัญประจําอำเภอเกษตรวิสัย  มีอยู่ว่า


“  เมืองเกษพัฒนา ทุ่งกุลาสดใส

ผ้าไหมสวยยิ่ง กู่กาสิงห์บ้านปลา

โสภานารี มากมีข้าวหอม ”



1. เมืองเกษพัฒนา : อุปราชเหง้า หรือภายหลังรัชาลที่ 5 ระราชทานนามว่า “พระศรีเกษตราวิชัย”  

เมืองเกษพัฒนาน่าจะหมายถึง เมืองที่พระศรีเกษพัฒนาขึ้น


2. ทุ่งกุลาสดใส : ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นทุ่งกว้างใหญ่ของภาคอีสาน มีอาณาเขตครอบคลุมถึง 5 จังหวัด 

รวมถึงในอำเภอเกษตรวิสัย ด้วยเช่นกัน


3. ผ้าไหมสวยยิ่ง : ผ้าไหมมัดหมี่ เป็นสินค้า OTOP ของดีประจำอำเภอเกษตรวิสัย 


4. กู่กาสิงห์บ้านปลา : จับปลาที่กู่กาสิงห์ มีบ่อตกปลา ฟาร์มปลา หรือสมัยก่อนนั้นตอนตั้งเมืองแถบนี้

 เพราะเป็นถิ่นอุดมสมบูรณ์   โดยมีปลานานาชนิด มากมายกู่กาสิงห์เป็นแหล่งที่มีชัยภูมิดี  มีปลาอุดม

สมบูรณ์ มีลำน้ำเสียวใหญ่เป็นแม่น้ำสำคัญ      


5. โสภานารี : ชื่นชมหญิงงาม ของอำเภอ


6. มากมีข้าวหอม  : ข้าวหอมมะลิจังหวัดร้อยเอ็ด  ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ หุงขึ้นหม้อ ข้าวหอม

ขึ้นชื่อไม่มีการเจือปน เพราะทุ่งกุลาร้องไห้คือแหล่งปลูกข้าวที่ดีที่สุดแห่งนึงของไทย ข้ามหอมมะลิที่

ปลูกในเขตนี้จึงถือว่าเป็นข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพ สร้างชื่อเสียงระดับโลก 




จุดที่น่าสนใจไปเยือนของ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด แหล่งท่องเที่ยว



1. สวนเกษตรวิศวกร


2. พิพิธภัณฑ์มรดกภูมิปัญญา บ้านกู่กาสิงห์


3. ทุ่งกุลาร้องไห้


4. ปราสาทกู่กาสิงห์


5. กู่กะโดน​ ​เกษตรวิสัย


6. รุ่งแสงสว่างฟาร์ม


7. น้ำตกถ้ำโสดา


8. กู่โพนระฆัง


9. วัดบูรพากู่กาสิงห์


10. สวนทุ่งทองคำ อินทผลัมทุ่งกุลา Golden Dates Farm Thailand


11. เมืองบัวการ์เด้นท์


12 สวนอาหารตำนานไทย


13. ตำนานไทยบุฟเฟ่ต์


14. วัดธาตุ


15. สวนทุเรียนเทศวิศวกร


16. วัดปทุมคงคา


17. วัดศรีอริยวงค์


18.แลนด์อาร์ตทุ่งกุลาร้องไห้


19.Oasis shabu โอเอซิส ชาบู


20.วัดสว่างอารมณ์




วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

คำขวัญประจำอำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี

 


คำขวัญประจำอำเภอกู่แก้ว  จังหวัดอุดรธานี

คำขวัญประจำอำเภอกู่แก้ว  จังหวัดอุดรธานี

คำขวัญประจำอำเภอกู่แก้ว,คำขวัญ,คําขวัญอุดรธานี,คำขวัญประจำจังหวัด,

กู่แก้วเป็นอำเภอหนึ่งใน 20  อำเภอของจังหวัดอุดรธานี KuKaeo

คำขวัญประจำอำเภอกู่แก้ว  จังหวัดอุดรธานี


ชื่ออำเภอกู่แก้ว เนื่องจากว่าเป็นชื่อเดียวกันกับปรางค์กู่แก้วซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญของอำเภอและ

ของจังหวัดอุดรธานี เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนในจังหวัด เคยเป็นหลายๆตำบลและอำเภอ 

อย่าง ตำบลโนนทองอินทร์ ตำบลค้อใหญ่ และตำบลคอนสาย อำเภอหนองหาน มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอกู่แก้ว

ขึ้นกับอำเภอหนองหาน ต่อมาวันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอกู่แก้ว อำเภอหนองหาน เป็น

 อำเภอกู่แก้ว



อำเภอกู่แก้ว แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น  4 ตำบล  37 หมู่บ้าน ได้แก่


1. บ้านจีต (Ban Chit) 8 หมู่บ้าน


2. โนนทองอินทร์ (Non Thong In) 4 หมู่บ้าน


3. ค้อใหญ่ (Kho Yai) 6 หมู่บ้าน


4. คอนสาย (Khon Sai) 15 หมู่บ้าน




คําขวัญประจําอำเภอกู่แก้ว  มีอยู่ว่า


“ อ้อยดี ผ้าหมี่ขิด รวมจิตบุญเดือนหก


เสื่อกกมีชื่อ เลื่องลือปรางค์กู่แก้ว ”



1. อ้อยดี : พื้นที่ปลูกอ้อยที่สำคัญแห่งนึงของจังหวัด


2. ผ้าหมี่ขิด : ผ้าไทย ผ้าฝ้ายมัดหมี่ทอมือ หมี่ขิดยกดอก ผ้าย้อมครามธรรมชาติ  ผ้ามัดหมี่ขิดย้อมคราม

  ผ้าพื้นเมือง  ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์


3. รวมจิตบุญเดือนหก : งานประจำปีของอำเภอ งานประเพณีบุญเดือนหก (บุญบั้งไฟ) ที่จัดขึ้นเพื่อ

บวงสรวงปรางค์กู่แก้ว ซึ่งเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง


4. เสื่อกกมีชื่อ : ผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนทอเสื่อกกยกลาย ผลิตภัณฑ์แปรรูปเสือกก การทอเสื่อกก

ยกลาย สินค้าโอทอป ผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่มีชื่อเสียง


5. เลื่องลือปรางค์กู่แก้ว : ปรางค์กู่แก้ว  โบราณสถานที่มีความสำคัญ เป็นศูนย์รวมจิตใจและยังเป็น

แหล่งเรียนรู้ ป็นแหล่งที่อยู่ของมนุษย์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์อีกด้วย




จุดที่น่าสนใจไปเยือนของ อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี แหล่งท่องเที่ยว


1. ปรางค์กู่แก้ว


2. วัดกู่แก้วรัตนาราม(หลวงปู่ตื้อ)


3. วัดป่าศรีคุณาราม


4. พระมหาเจดีย์มงคล พระบรมสารีริกธาตุ (ส่วนพระจักษุธาตุ)


5. อโรคยาศาลา ภูมิปัญญาสมุนไพร


6. ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี