วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

 


คำขวัญประจำอำเภอกุดจับ  จังหวัดอุดรธานี

คำขวัญประจำอำเภอกุดจับ  จังหวัดอุดรธานี


กุดจับเป็นอำเภอหนึ่งใน  20 อำเภอของจังหวัดอุดรธานี KutChap_motto 


เดิมพื้นที่อำเภอเป็นเขตของอำเภอบ้านผือ และอำเภอหมากแข้ง ต่อมาได้โอนตำบลกุดจับมาขึ้นกับ

อำเภอหมากแข้ง พ.ศ. 2469 และเป็นกิ่งอำเภอในปี 2515 และเป็นอำเภอในวันที่ 8 กันยายน 2519 มี

อาณาเขตติดกับจังหวัดหนองบัวลำภู (อำเภอนากลางและอำเภอสุวรรณคูหา) 


คำขวัญประจำอำเภอกุดจับ  จังหวัดอุดรธานี



อำเภอกุดจับ แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7  ตำบล 90  หมู่บ้าน ได้แก่


1. กุดจับ (Kut Chap) 12 หมู่บ้าน

2. ปะโค (Pakho) 14 หมู่บ้าน

3. ขอนยูง (Khon Yung) 14 หมู่บ้าน

4. เชียงเพ็ง (Chiang Pheng) 14 หมู่บ้าน

5. สร้างก่อ (Sang Ko) 13 หมู่บ้าน

6. เมืองเพีย (Mueang Phia) 15 หมู่บ้าน

7. ตาลเลียน (Tan Lian) 8 หมู่บ้าน




คําขวัญประจําอำเภอกุดจับ  มีอยู่ว่า


“ หลวงปู่แก้วศักดิ์สิทธิ์ แหล่งผลิตข้าวเหนียว ถั่วลิสงพันธุ์ดี 

ผ้าย้อมสีธรรมชาติ ภาพเขียนสีประวัติศาสตร์ถ้ำสิงห์ ”



1. หลวงปู่แก้วศักดิ์สิทธิ์ : หลวงปู่แก้ว วัดอัมพวันวิทยาราม บ้านเพีย พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ปางมารวิชัย


2. แหล่งผลิตข้าวเหนียว : แถบนั้นเป็นแหล่งปลูกข้าวเหนียว รวมไปถึงจังหวัดหนองบัวลำภูข้างๆก็เช่นกัน


3. ถั่วลิสงพันธุ์ดี : แหล่งผลิตถั่วลิสงใหญ่ที่สุดของอุดรธานี โดยมีผลิตภัณฑ์อย่า งถั่วลิสงคั่วทราย 

เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ขึ้นชื่อของอำเภอกุดจับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ปลูกถั่วลิสง พืชน้ำน้อยช่วงหน้าแล้ง

 สร้างรายได้


4. ผ้าย้อมสีธรรมชาติ : กลุ่มภูมิปัญญาทอผ้าย้อมครามและย้อมสีธรรมชาติ


5. ภาพเขียนสีประวัติศาสตร์ถ้ำสิงห์ : ตำบลขอนยูง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี   ตั้งอยู่บนเทือกเขา

ภูพานมีภาพเขียนสีธรรมชาติบริเวณหน้าถ้ำ อายุประมาณ 2,300 ปี เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณแหล่ง

ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ 

 



จุดที่น่าสนใจไปเยือนของ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี แหล่งท่องเที่ยว


1. ภาพเขียนสีประวัติศาสตร์ถ้ำสิงห์


2. บ่อน้ำพญานาค


3.ถ้ำสหายเก็บเสบียง


4. บ่อน้ำมโนราห์


5. ถ้ำนกยูง


6. วนอุทยานภูหินจอมธาตุ  




วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี

 


คำขวัญประจำอำเภอกุดข้าวปุ้น  จังหวัดอุบลราชธานี

คำขวัญประจำอำเภอกุดข้าวปุ้น  จังหวัดอุบลราชธานี


กุดข้าวปุ้นเป็นอำเภอหนึ่งใน 25  อำเภอของจังหวัดอุบลราชธานี Kut_Khaopun_motto


แยกเขตการปกครองออกมาจากอำเภอตระการพืชผล เมื่อปี พ.ศ. 2514 ต่อมาได้ยกฐานะเป็น

อำเภอกุดข้าวปุ้นเมื่อปี พ.ศ.2522 ชื่อของอำเภอ กุดข้าวปุ้นนั้นมีที่มา 2 ทาง คือ  

“ลำน้ำที่คดงอเหมือนเส้นขนมจีน”  และ ชาวบ้านในบริเวณนี้อาศัยที่นี้ในการทำเส้นขนมจีน 

ข้าวปุ้นภาษาอีสานคือขนมจีน ในภาษากลาง  (กุด = บึง, ลำน้ำปลายด้วน ข้าวปุ้น = ขนมจีน, ขนมเส้น)


มีอาณาเขตติดกับจังหวัดข้างๆคือ


อำเภอปทุมราชวงศา (จังหวัดอำนาจเจริญ) ในทางตะวันตก


คำขวัญประจำอำเภอกุดข้าวปุ้น  จังหวัดอุบลราชธานี



อำเภอกุดข้าวปุ้น แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5  ตำบล  75 หมู่บ้าน ได้แก่


ข้าวปุ้น (Khaopun) 15 หมู่บ้าน

โนนสวาง (Non Sawang) 20 หมู่บ้าน

แก่งเค็ง (Kaeng Kheng) 13 หมู่บ้าน

กาบิน (Ka Bin) 14 หมู่บ้าน

หนองทันน้ำ (Nong Than Nam) 13 หมู่บ้าน



คําขวัญประจําอำเภอกุดข้าวปุ้น  มีอยู่ว่า


“ กุดข้าวปุ้น เมืองอู่ข้าว พระเจ้าใหญ่ขุมคำ งามล้ำผ้าทอ 

บ้านก่อปอถัก ภูขามงามนัก ประชารักสามัคคี ”



1. กุดข้าวปุ้น เมืองอู่ข้าว  : มีส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรให้มีขีดความสามารถในการผลิตและจัดการ

สินค้าเกษตต่างๆ การอบรมโครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลาในนาข้าวอินทรีย์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานมี

อาหารการกินพร้อม


2. พระเจ้าใหญ่ขุมคำ : วัดขุมคำ ประดิษฐานพระเจ้าใหญ่ขุมคำ พระพุทธเจ้าศักดิ์สิทธิ์ให้พรสมหวัง

เรื่องความรัก


3. งามล้ำผ้าทอ : ผลิตผ้าไหมกาบบัว สืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าไหมมาจากบรรพบุรุษ 

พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมผ้าไหมกาบบัวบ้านโนนสวาง อ.กุดข้าวปุ้น ผ้ากาบบัวเป็นลายเอกลักษณ์

ประจำจังหวัดอุบลราชธานี


4. บ้านก่อปอถัก : งานปอถักทำจากปอวัตถุดิบธรรมาชาติ จากเชือกปอ


5. ภูขามงามนัก : เป็นส่วนหนึ่งในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงขุมคำ 


6. ประชารักสามัคคี : คำยกย่อง ที่ใช้เป็นสร้อยท้าย ไว้มักมีในคำขวัญหลายๆที่ ไม่น่าแปลกใจอะไร 

บอกถึงลักษณะคนในอำเภอว่ารักสามัคคีกัน อะไรประมาณนี้



จุดที่น่าสนใจไปเยือนของ อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี แหล่งท่องเที่ยว



1. วัดบ้านขุมคำ


2. อ่างเก็บน้ำห้วยโป่งใหญ่


3. เกาะแก่งรีสอร์ท




วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

 


คำขวัญประจำอำเภอกุฉินารายณ์  จังหวัดกาฬสินธุ์

คำขวัญประจำอำเภอกุฉินารายณ์  จังหวัดกาฬสินธุ์


กุฉินารายณ์เป็นอำเภอหนึ่งใน  18 อำเภอของจังหวัดกาฬสินธุ์  Kuchinarai_motto


มีชื่อเดิมคือ "กุดสิมนารายณ์" มีอาณาเขตติดกับ จังหวัดข้างเคียงคือ มุกดาหารและ ร้อยเอ็ด


เมืองกาฬสินธุ์ หรือ “เมืองน้ำดำ”


คำขวัญประจำอำเภอกุฉินารายณ์  จังหวัดกาฬสินธุ์



อำเภอกุฉินารายณ์ แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12  ตำบล 145  หมู่บ้าน ได้แก่


1. บัวขาว (Bua Khao) 16 หมู่บ้าน

2. แจนแลน (Chaen Laen) 9 หมู่บ้าน

3. เหล่าใหญ่ (Lao Yai) 12 หมู่บ้าน

4. จุมจัง (Chum Chang) 15 หมู่บ้าน

5. เหล่าไฮงาม (Lao Hai Ngam) 12 หมู่บ้าน

6. กุดหว้า (Kut Wa) 13 หมู่บ้าน

7. สามขา (Sam Kha) 18 หมู่บ้าน

8. นาขาม (Na Kham) 17 หมู่บ้าน

9. หนองห้าง (Nong Hang) 9 หมู่บ้าน

10. นาโก (Na Ko) 9 หมู่บ้าน

11. สมสะอาด (Som Sa-at) 7 หมู่บ้าน

12. กุดค้าว (Kut Khao) 8 หมู่บ้าน


คําขวัญประจําอำเภอกุฉินารายณ์  มีอยู่ว่า


“ มิ่งมงคลหลวงพ่อองค์ดำ พระพุทธสิมมาบุษราคัมล้ำค่า

ตระการตาผ้าทอมือ เลื่องลือวัฒนธรรมผู้ไท

ก้าวไกลพลังงานทดแทน ดินแดนสัตว์โลกล้านปี ”



1. มิ่งมงคลหลวงพ่อองค์ดำ : พระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย หรือหลวงพ่อองค์ดำ-ชุ่มเย็น 

พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง 


2. พระพุทธสิมมาบุษราคัมล้ำค่า : พระพุทธรัตนสิมมาบุษราคัมมิ่งมงคล (พระแก้วบุษราคัม) 

พระคู่บ้านคู่เมือง อำเภอกุฉินารายณ์ ประดิษฐ์ฐานอยุ่ที่วัดสิมนาโก ตำบลนาโก อำเภอกุฉินารายณ์ 

สมเด็จพุฒาจารย์(โต)พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม ได้สร้างไว้เมื่อพุทธศักราช 2408. 


3. ตระการตาผ้าทอมือ : ภูมิปัญญา ผ้าทอกลุ่มทอผ้า ผ้าฝ้ายทอมือกุฉินารายณ์ 


4. เลื่องลือวัฒนธรรมผู้ไท : วิถีไทยกับบ้านแห่งวิถีวัฒนธรรมชาวภูไท กลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอกุฉินารายณ์


5. ก้าวไกลพลังงานทดแทน : นำร่องพลังงานทดแทนระบบผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

บนหลังคา


6. ดินแดนสัตว์โลกล้านปี : มีร่องรอยไดโนเสาร์มากมายในจังหวัดกาฬสินธุ์ และในกุฉินารายณ์ด้วย

เช่นกัน ฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์แห่งที่ 1. ถูกค้นพบที่ภูผาวัวอยู่ในท้องที่บ้านนาไคร้  ตำบลกุดหว้า 

อำเภอกุฉินารายณ์



จุดที่น่าสนใจไปเยือนของ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ แหล่งท่องเที่ยว


1. วัดบ่อน้ำทิพย์ : 


2. น้ำตกวังตาดบ้านวังมน : 


3. วนอุทยานน้ำตกตาดสูง : 


4. พุทธอุทยานวัดป่าภูน้อย : 


5. วนอุทยานภูผาวัว : 


6. น้ำตกแจ้ง : 


7. พุทธสถานภูดานไห หรือชาวบ้านเรียกว่าถ้ำมรกต บนยอดเขาภูดานไห




วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

 


คำขวัญประจำอำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม

คำขวัญประจำอำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม


เป็นอำเภอหนึ่งใน 7  อำเภอของจังหวัดนครปฐม


เมืองเล็ก ๆ เมืองโบราณสมัยทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 ประมาณ อายุอยู่ราว 

พ.ศ.1150-1400 สันนิษฐานว่าน่าจะมีฐานะเป็นเมืองบริวารของเมืองนครไชยศรีแต่ปัจจุบันถือ

เป็นอำเภอใหญ่อำเภอนึงในจังหวัดนครปฐม มีพื้นที่ ติดกับ 3 จังหวัดได้แต่ สุพรรณบุรี(อำเภอสองพี่น้อง )

จังหวัดราชบุรี (อำเภอบ้านโป่ง) จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอท่ามะกา) 

มีความอุดมสมบูรณ์มาก และยังขุดพบหลักฐานโบราณหลายอย่างเช่น ซากฐานวิหาร เจดีย์ธรรมจักร

ศิลา หอยสังข์ลายปูนปั้น เครื่องปั้นดินเผา หินหยดยา ระฆังหิน 


คำขวัญประจำอำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม



อำเภอ แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15  ตำบล  204 หมู่บ้าน ได้แก่



1. ทุ่งกระพังโหม (Thung Kraphanghom) 7 หมู่บ้าน

2. กระตีบ (Kratip) 8 หมู่บ้าน

3. ทุ่งลูกนก (Thung Luk Nok) 23 หมู่บ้าน

4. ห้วยขวาง (Huai Khwang) 21 หมู่บ้าน

5. ทุ่งขวาง (Thung Khwang) 10 หมู่บ้าน

6. สระสี่มุม (Sa Si Mum) 24 หมู่บ้าน

7. ทุ่งบัว (Thung Bua) 11 หมู่บ้าน

8. ดอนข่อย (Don Khoi) 16 หมู่บ้าน

9. สระพัฒนา (Sa Phatthana) 14 หมู่บ้าน

10. ห้วยหมอนทอง (Huai Mon Thong) 12 หมู่บ้าน

11. ห้วยม่วง (Huai Muang) 12 หมู่บ้าน

12. กำแพงแสน (Kamphaeng Saen) 12 หมู่บ้าน

13. รางพิกุล (Rang Phikun) 9 หมู่บ้าน

14. หนองกระทุ่ม (Nong Krathum) 11 หมู่บ้าน

15. วังน้ำเขียว (Wang Nam Khiao) 14 หมู่บ้าน




คําขวัญประจําอำเภอกำแพงแสน  มีอยู่ว่า


“ เมืองเก่าโบราณ สถานผลิตนักบินประเทศ

แหล่งบัณฑิตการเกษตร เขตพื้นดินเนื้อดี

อนุสาวรีย์อินทรศักดิ์ศจี ปฐพีแห่งความร่มเย็น ”



1. เมืองเก่าโบราณ : อายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี


2. สถานผลิตนักบินประเทศ  : เพราะมีโรงเรียนการบิน กองบัญชาการยุทธทางอากาศ ตั้งอยู่ที่ตำบล

กระตีบ อำเภอกำแพงแสน เป็นสถาบันผลิตนักบินประจำการกองทัพอากาศ 


3. แหล่งบัณฑิตการเกษตร : มีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการ

ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ


4. เขตพื้นดินเนื้อดี : เป็นอำเภอที่มีกลุ่มดินหลายชุด เหมาะแก่การปลูกพืช ทำนาและสามารถ พืชไร่ 

พืชผักปลูกพืชอายุสั้นได้ในช่วงหน้าแล้ง 


5. อนุสาวรีย์อินทรศักดิ์ศจี : สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา พระวรราชชายา

ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


6. ปฐพีแห่งความร่มเย็น : เป็นคำชื่นชมบอกเล่าถึงอำเภอ ซึ่งพบเจอได้ทั่วไปในคำขวัญจังหวัด

หรืออำเภออื่นๆ ในคำลักษณะนี้



จุดที่น่าสนใจไปเยือนของ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม แหล่งท่องเที่ยว



1. สวนป่าสมุนไพร วัดปลักไม้ลาย 


2. . อุทยานแมลงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


3. อุโมงค์ชมพูพันธุ์ทิพย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน


4. ตลาดคุณาวรรณ


5. เมืองเก่ากำแพงแสน


6. วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน)


7. โรงเรียนการบิน กำแพงแสน


8. สวนน้ำหนองกระทุ่ม


9. สวนกล้วยไม้สุวรรณภูมิ ออร์คิดส์


10. วัดสี่แยกเจริญพร


11. ร้านอาหารนา ปี ปัง


12. สวนอุทยานการบิน โรงเรียนการบิน กำแพงแสน


13. วัดทุ่งกระพังโหม


14. The Ugly Duckling Learning Farm


15. วัดหนองพงนก (วัดเจริญราษฎร์บำรุง)


16. วัดห้วยม่วง





วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา

 


คำขวัญประจำอำเภอกาบัง  จังหวัดยะลา


คำขวัญประจำอำเภอกาบัง  จังหวัดยะลา


เป็นอำเภอหนึ่งใน  8 อำเภอของจังหวัดยะลา


ตั้งโดยแยกพื้นที่การปกครองสองตำบลของอำเภอยะหา คือ ตำบลกาบังและตำบลบาละ เมื่อวันที่ 

1 เมษายน พ.ศ. 2534

คำว่า กาบัง หรือ กาแบ เป็นภาษามลายูพื้นเมืองที่เรียกพันธุ์ไม้คล้ายกับเงาะ ซึ่งก็คือเงาะพันธุ์หนึ่ง 

บางข้อมูลกล่าวว่า มาจากคำว่า ฆามแบ แปลว่า ต้นสีเสียด  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกสุดของจังหวัด

ยะลา ติดต่อกับ ประเทศมาเลเซีย  



คำขวัญประจำอำเภอกาบัง  จังหวัดยะลา


อำเภอกาบัง แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 2 ตำบล 19 หมู่บ้าน  ได้แก่


1. กาบัง (Kabang) 8 หมู่บ้าน

2. บาละ (Bala) 11 หมู่บ้าน





คําขวัญประจําอำเภอกาบัง  มีอยู่ว่า



“ แหล่งต้นน้ำใหญ่ ชื่นใจธรรมชาติ 

ไม้กวาดดอกหญ้า จำปาดะพันธุ์ดี ”



1. แหล่งต้นน้ำใหญ่ : น้ำแร่น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ


2. ชื่นใจธรรมชาติ : มีบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติสวยงามและร่มรื่น


3. ไม้กวาดดอกหญ้า :  กลุ่ม OTOP ไม้กวาดดอกหญ้าบาละได้เป็นผลิต OTOP 4 ดาว


4. จำปาดะพันธุ์ดี : เป็นผลไม้ในท้องถิ่น มีไฟเบอร์สูง  เนื้อผลสุกมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ



จุดที่น่าสนใจไปเยือนของ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา แหล่งท่องเที่ยว


1. ชมแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประเภทป่า ลำธาร : ล่องแก่ง D-rimklong camp บาโงยเบาะ


2. ชมน้ำสะอาดบริสุทธิ์ ที่ไหลออกจากเชิงเนินป่าและหิน :  ณ บ้านแอแล๊ะ หมู่ที่ 6 ตำบลกาบัง 

อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา


3. กลุ่มสตรีบ้านนิบง : 


4. กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องหนังบ้านยือนัง : 


5. กลุ่มอาชีพปักจักร : หมวกกะปิเยาะห์ 


6. ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี : 





วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

 


คำขวัญประจำอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

คำขวัญประจำอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์


กาบเชิงเป็นอำเภอหนึ่งใน 17 อำเภอ ของจังหวัดสุรินทร์


อยู่ติดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานมากว่า 200 ปีมาแล้ว  ช่วงแรกขึ้นกับตำบลด่าน

 อำเภอสังขะ จากนั้นอยู่กับตำบลหนองใหญ่ อำเภอปราสาทโอนมาอยู่ในการปกครองของ

ตำบลกาบเชิง อำเภอปราสาท แล้วก็จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ


คำขวัญประจำอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์


อำเภอกาบเชิงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 ตำบล 86หมู่บ้าน


1. กาบเชิง (Kap Choeng) 20 หมู่บ้าน

2. คูตัน (Khu Tan) 10 หมู่บ้าน

3. ด่าน (Dan) 18 หมู่บ้าน

4. แนงมุด (Naeng Mut) 15 หมู่บ้าน

5. โคกตะเคียน (Khok Takhian) 14หมู่บ้าน

6. ตะเคียน (Takhian) 9 หมู่บ้าน



คำขวัญประจำอำเภอกาบเชิง



“ กาบเชิงถิ่นคนดี เฉลิมราชกุมารีศรีสง่า


ปราสาทธรรมชาติล้ำค่า แหล่งการค้าที่ช่องจอม ”



1. กาบเชิงถิ่นคนดี : ยกย่องเชิดชูคนในอำเภอ เป็นเรื่องดี


2. เฉลิมราชกุมารีศรีสง่า


3. ปราสาทธรรมชาติล้ำค่า : กลุ่มปราสาทตาเมือน  เป็นโบราณสถานแบบขอม 3 หลัง ปราสาทเบง  


4. แหล่งการค้าที่ช่องจอม : จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์  

เป็นแหล่งการค้าชายแดนที่คึกคัก



สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอำเภอกาบเชิง



1. วัดช้างหมอบ


2. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ


3. จุดชมวิวผามะนาว อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์


4. วัดพัฒนาธรรมาราม กาบเชิง(หลวงปู่เฮง)


5. เขาทมอโรย


6. วัดมงคลคชาราม


7. อ่างเก็บน้ำเขื่อนตาเกาว์


8. ตลาดการค้าช่องจอม


9. กลุ่มปราสาทตาเมือน


10.  ปราสาทเบง  



วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 


คำขวัญประจำอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี


คำขวัญประจำอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี


กาญจนดิษฐ์ เป็นอำเภอหนึ่งใน 19 อำเภอ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี


เดิมเป็นเมืองเก่า ชื่อ "เมืองท่าทอง" ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ริมคลองท่าทอง 

คำขวัญประจำอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี


อำเภอกาญจนดิษฐ์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 ตำบล 117 หมู่บ้าน ได้แก่


1. ท่าทอ (Tha Thong) 9 หมู่บ้าน

2. ท่าทองใหม่ (Tha Thong Mai) 5 หมู่บ้าน

3. กะแดะ (Kadae) 9 หมู่บ้าน

4. ทุ่งกง (Thung Kong) 5 หมู่บ้าน

5. กรูด (Krut) 10 หมู่บ้าน

6. ช้างซ้าย (Chang Sai) 12 หมู่บ้าน

7. พลายวาส (Phlai Wat) 9 หมู่บ้าน

8. ป่าร่อน (Pa Ron) 9 หมู่บ้าน

9. ตะเคียนทอง (Takhian Thong) 7 หมู่บ้าน

10. ช้างขวา (Chang Khwa) 14 หมู่บ้าน

11. ท่าอุแท (Tha Uthae) 13 หมู่บ้าน

12. ทุ่งรัง (Thung Rang) 5 หมู่บ้าน

13. คลองสระ (Khlong Sa) 10 หมู่บ้าน



คำขวัญประจำอำเภอกาญจนดิษฐ์




“  หอยใหญ่นางรม ชมวิทยาลัยฝึกลิง มากยิ่งกุ้งกุลาดำ 


งามล้ำพระไสยาสน์ พระพุทธบาทควรผดุง รุ่งเรืองเมืองท่าทอง ”



1. หอยใหญ่นางรม : หอยใหญ่ไซร้จัมโบ้ หอยนางรมสุราษฎร์ธานี   แหล่งเลี้ยงหอยนางรมที่ใหญ่

ที่สุด คือ บริเวณอ่าวที่ตำบลท่าทอง


2. ชมวิทยาลัยฝึกลิง : Monkey Training College  วิทยาลัยฝึกลิงเพื่อการเกษตร ตั้งอยู่ที่ 

อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นทั้งโรงเรียนฝึกลิง และโฮมสเตย์ 

เพื่อให้นักท่องเที่ยวมา เยี่ยมชมได้


3. มากยิ่งกุ้งกุลาดำ : ฟาร์มเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบพัฒนาของเกษตรกร  เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 

ในเขต อ.กาญจนดิษฐ์  มีมากมาย


4. งามล้ำพระไสยาสน์ : พระพุทธไสยาสน์ 


5. พระพุทธบาทควรผดุง : วัดพระพุทธบาทศรีสุราษฎร์ ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทโบราณ

 และพระพุทธมิ่งมงคลหิน หยกขาว คู่รอยพระพุทธบาท


6. รุ่งเรืองเมืองท่าทอง : . บริเวณเหล่านี้เคยเป็นชุมชนระดับเมืองมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัยเป็นอย่างน้อย 

มีความสำคัญของประวัติศาสตร์และวัตถุโบราณเก่าแก่ของเมืองท่าทอง 

ปรากฏอยู่ในตำนานเมืองนครศรีธรรมราช  ซึ่งเป็นหัวเมืองใหญ่ในสมัยก่อน





สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอำเภอกาญจนดิษฐ์



1.วัดถ้ำคูหา


2. วัดพระพุทธบาทศรีสุราษฎร์


3. วัดถนนสุวรรณประดิษฐ์


4. ปากน้ำกะแดะ – เส้นทางศึกษาธรรมชาติเชิงระบบนิเวศน์ (Walk way)


5. วิทยาลัยฝึกลิง


6. วัดเขาพระนิ่ม ณ ถ้ำพระนอนเก่าแก่


7. เคียงเล ฟาร์มสเตย์





วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

 



คำขวัญประจำอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่


คำขวัญประจำอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ 


กัลยาณิวัฒนา เป็นอำเภอหนึ่งใน 25 อำเภอ ของจังหวัดเชียงใหม่ 


อำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอที่กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดให้เป็น "โครงการอำเภอ

กัลยาณิวัฒนา เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554"


คำขวัญประจำอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่



อำเภอกัลยาณิวัฒนาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล 22 หมู่บ้าน ได้แก่



1. บ้านจันทร์ Ban Chan 7 หมู่บ้าน

2. แม่แดด Mae Daet 8 หมู่บ้าน

3. แจ่มหลวง Chaem Luang 7 หมู่บ้าน


คำขวัญประจำอำเภอกัลยาณิวัฒนา




“ กัลยาณิวัฒนา ดินแดนในฝัน ป่าสนพันปี 


ประเพณี วัฒนธรรม บริสุทธิ์ 


ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  สามัคคี  สมานฉันท์ ”



โดยรวมเป้นการยกย่องอำเภอ ว่ามีอะไรบ้าง เช่น ดินแดนในฝันที่ดี 


มีประเพณี วัฒนธรรม บริสุทธิ์ น่าจะหมายถึงดีและแบบฉบับไม่มีเจือ ปน


สามัคคี  สมานฉันท์ กันของผู้คน


ส่วนป่าสนพันปี คือ ป่าสนวัดจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา ปั่นจักรยาน  เดินป่าศึกษาธรรมชาติ




สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอำเภอกัลยาณิวัฒนา



1. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ 


2.  สวนป่าหลวงวัดจันทร์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้วัดจันทร์ 


3. น้ำตกโป่งสะแยง 


4. ดอยโป่งกา


5. วัดจันทร์ (วิหารแว่นตาดำ)


6.  สถานีพัฒนาเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริบ้านเสาแดง


7. บ่อน้ำพุร้อนเหมืองแร่



วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

 



คำขวัญประจำอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

คำขวัญประจำอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ


กันทรารมย์ เป็นอำเภอหนึ่งใน 22 อำเภอ ของจังหวัดศรีสะเกษ

งอยู่บนเส้นทางหลักเชื่อมระหว่างจังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งการขนส่งทางบก 

และการขนส่งทางรางรถไฟ ประชากรในตำบลกันทรารมย์ ร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 

โดยทำนาเป็นส่วนใหญ่

คำขวัญประจำอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ


อำเภอกันทรารมย์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 ตำบล 175  หมู่บ้าน ได้แก่


1. ดูน (Dun) 14 หมู่บ้าน

2. โนนสัง  (Non Sang) 14 หมู่บ้าน

3. หนองหัวช้าง (Nong Hua Chang) 12 หมู่บ้าน

4. ยาง (Yang) 12 หมู่บ้าน

5. หนองแวง (Nong Waeng) 11 หมู่บ้าน

6. หนองแก้ว (Nong Kaeo) 7 หมู่บ้าน

7. ทาม (Tham) 11 หมู่บ้าน

8. ละทาย  (Lathai) 9 หมู่บ้าน

9. เมืองน้อย (Mueang Noi) 10 หมู่บ้าน

10. อีปาด (I Pat) 5 หมู่บ้าน

11. บัวน้อย (Bua Noi) 11 หมู่บ้าน

12. หนองบัว (Nong Bua) 7 หมู่บ้าน

13. ดู่ (Du) 8 หมู่บ้าน

14. ผักแพว (Phak Phaeo) 18 หมู่บ้าน

15. จาน (Chan) 15 หมู่บ้าน

16. คำเนียม (Kham Niam) 10 หมู่บ้าน



คำขวัญประจำอำเภอกันทรารมย์ 




“ กันทรารมย์อุดมพริกหอมกระเทียม ยอดเยี่ยมกลองตุ้ม 


ปลาชุมมูลชี หม้อดินดีโพนทราย 


มีฝายหัวนา งามสง่าพระมงคลมิ่งเมือง ”




1. กันทรารมย์อุดมพริกหอมกระเทียม : มีพืชเกษตร เช่น พริก หอม กระเทียมมากมาย


2. ยอดเยี่ยมกลองตุ้ม  : การฟ้อนกลองตุ้ม เป็นศิลปะการฟ้อนรำพื้นบ้านที่พบเห็นทั่วไปในภาคอีสาน

เขตลุ่มน้ำมูล โดยเฉพาะในเขตพื้นที่อำเภอกันทรารมย์ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อประกอบ

ประเพณีบุญบั้งไฟ


3. ปลาชุมมูลชี : จุดรวมแม่น้ำ ชี มูล


4. หม้อดินดีโพนทราย : การปั้นหม้อและค้าขายหม้อดินของครอบครัวชาวนาในที่ราบลุ่ม 

บ้านโพนทราย ตำบลหนองบัว อำเภอกันทรารมย์


5. มีฝายหัวนา : เขื่อนหัวนาในอำเภอกันทรารมย์จังหวัดศรีสะเกษเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโครงการ

โขงชีมูลในประเทศไทย 


6. งามสง่าพระมงคลมิ่งเมือง : พระพุทธมงคลมิ่งเมือง  เป็นพระพุทธรูปปั้น ปางประทานพร  





วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

 


คำขวัญประจำอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 

คำขวัญประจำอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 



กันทรวิชัย เป็นอำเภอหนึ่งใน 13 อำเภอ ของจังหวัดมหาสารคาม 

อำเภอกันทรวิชัยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครอง

ข้างเคียงกับ อำเภอยางตลาด (จังหวัดกาฬสินธุ์) อำเภอยางตลาดและอำเภอฆ้องชัย (จังหวัดกาฬสินธุ์)

 อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอโกสุมพิสัยและอำเภอเชียงยืน


คำขวัญประจำอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม



อำเภอกันทรวิชัยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น10 ตำบล 183 หมู่บ้าน ได้แก่



1. โคกพระ (Khok Phra)

2. คันธารราษฎร์ (Khanthararat)

3. มะค่า (Makha)

4. ท่าขอนยาง (Tha Khon Yang)

5. นาสีนวน (Na Si Nuan)

6. ขามเรียง (Kham Riang)

7. เขวาใหญ่ (Khwao Yai)

8. ศรีสุข (Si Suk)

9. กุดใส้จ่อ (Kut Sai Cho)

10. ขามเฒ่าพัฒนา (Kham Thao Phatthana)



คำขวัญประจำอำเภอกันทรวิชัย




“ กันทรวิชัยเมืองพระ สระบัวคู่บ้าน


การเกษตรฟูเฟื่อง พลเมืองอยู่เป็นสุข ”



1. กันทรวิชัยเมืองพระ : มีพระพุทธรูปสำคัญ ถือเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองอยู่ 2 องค์ คือ พระพุทธมงคล 

และพระพุทธมิ่งเมือง ซึ่งเป็นพระเก่าแก่ เป็นโบราณวัตถุ


2. สระบัวคู่บ้าน : สะพาน 180 ก้าวเมืองพระกันทรวิชัย ดอกบัวนานาพันธุ์ ที่ผลิบานไปทั่วบึง  และยัง

มีนกเป็ดน้ำหนีหนาวจากไซบีเรีย ที่พักผ่อนหย่อนใจ  และเป็นสถานที่เดินเล่น ออกกำลังกาย 


3. การเกษตรฟูเฟื่อง : เป็นกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ 


4. พลเมืองอยู่เป็นสุข



สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอำเภอกันทรวิชัย



1. หนองบัว กันทรวิชัย


2. พระพุทธมิ่งเมือง อำเภอกันทรวิชัย


3. สวนสาธารณะกันทรวิชัย 


4. พระพุทธรูปยืนมงคล


5. วัดป่าอาศิราวาสเกาะเกิ้ง


6. วนอุทยานชีหลง


7. อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย




วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

 


คำขวัญประจำอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ


คำขวัญประจำอำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ 



กันทรลักษ์เป็นอำเภอหนึ่งใน 22 อำเภอ ของจังหวัดศรีสะเกษ


เป็นอำเภอขนาดใหญ่ มีพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดศรีสะเกษ  เดิมชื่อ เมืองอุทุมพรพิไสย ขึ้นอยู่กับ

เมืองขุขันธ์ 

คำขวัญประจำอำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ



อำเภอกันทรลักษ์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 ตำบล  275  หมู่บ้าน ได้แก่


1. บึงมะลู (Bueng Malu) 20 หมู่บ้าน

2. กุดเสลา (Kut Salao) 16 หมู่บ้าน

3. เมือง (Mueang) 9 หมู่บ้าน

4. สังเม็ก (Sang Mek) 18 หมู่บ้าน

5. น้ำอ้อม (Nam Om) 16 หมู่บ้าน

6. ละลาย (Lalai) 12 หมู่บ้าน

7. รุง (Rung) 10 หมู่บ้าน

8. ตระกาจ (Trakat) 12 หมู่บ้าน

9. จานใหญ่ (Chan Yai) 16 หมู่บ้าน

10. ภูเงิน (Phu Ngoen) 19 หมู่บ้าน

11. ชำ (Cham) 8 หมู่บ้าน

12. กระแชง (Krachaeng) 19 หมู่บ้าน

13. โนนสำราญ (Non Samran) 11 หมู่บ้าน

14. หนองหญ้าลาด (Nong Ya Lat) 16 หมู่บ้าน

15. เสาธงชัย (Sao Thong Chai) 17 หมู่บ้าน

16. ขนุน (Khanun) 15 หมู่บ้าน

17. สวนกล้วย (Suan Kluai) 12 หมู่บ้าน

18. เวียงเหนือ (Wiang Nuea) 8 หมู่บ้าน

19. ทุ่งใหญ่ (Thung Yai) 15 หมู่บ้าน

20. ภูผาหมอก (Phu Pha Mok) 6 หมู่บ้าน



คำขวัญประจำอำเภอกันทรลักษ์



“ กันทรลักษ์ เมืองหลักการเกษตร เขตประตูสู่เขาพระวิหาร


งามพลาญผามออีแดง แหล่งรวมวัฒนธรรม ”



1. กันทรลักษ์ เมืองหลักการเกษตร : มีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งเกษตรกรรมผลิตพืชผล 

หลายประเภท เช่น เงาะ ทุเรียน ลำไย สะตอ ลิ้นจี่ ยางพารา และผักสวนครัว 


2. เขตประตูสู่เขาพระวิหาร : ปราสาทพระวิหาร ปราสาทหินตามแบบศาสนาฮินดูที่ตั้งอยู่บริเวณ

ทิวเขาพนมดงรักอยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษของ

ประเทศไทย


3. งามพลาญผามออีแดง : ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ 

เป็นจุดชมวิว สามารถมองเห็นเขาพระวิหารฝั่งเขมร ทะเลหมอกอีสานใต้ ที่ผามออีแดง


4. แหล่งรวมวัฒนธรรม : วัฒนธรรมศรีสะเกษ เสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมสุขภาพพัฒนา

ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ 



สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอำเภอกันทรลักษ์



1. ผามออีแดง


2. น้ำตกวังใหญ่


3. ปราสามโดนตวล


4. อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร


5. สวนสุขภาพหนองกวางดีด


6. แก่งตาดหิน


7. วัดธรรมสำเริงพุทธศิริ (หลวงพ่อใหญ่ปวดหาย)


8. พระอนุสาวรีย์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ


9. ศาลหลักเมืองกันทรลักษ์


10.  น้ำตกสีดา


11. แก่งตะวัน


12. วัดภูสามสวรรค์




วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

 


คำขวัญประจำอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

คำขวัญประจำอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง


กะเปอร์ เป็นอำเภอหนึ่งใน 5 อำเภอ ของจังหวัดระนอง

ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง  อำเภอเมืองระนอง 

และอำเภอพะโต๊ะ (จังหวัดชุมพร

อำเภอท่าชนะ อำเภอท่าฉาง และ อำเภอวิภาวดี (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) อำเภอสุขสำราญ 

ทะเลอันดามัน

คำขวัญประจำอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง


อำเภอกะเปอร์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 34 หมู่บ้าน ได้แก่


1. ม่วงกลวง (Muang Kluang) 4 หมู่บ้าน

2. กะเปอร์ (Kapoe) 10 หมู่บ้าน

3. เชี่ยวเหลียง (Chiao Liang) 7 หมู่บ้าน

4. บ้านนา (Ban Na) 8 หมู่บ้าน

5. บางหิน (Bang Hin) 5 หมู่บ้าน


คำขวัญประจำอำเภอกะเปอร์




“ กะเปอร์เมืองธรรมะ สักการะหลวงพ่อเบี้ยว ท่องเที่ยวเกาะค้างคาว 


หาดทรายยาวบางเบน ป่าชายเลนล้ำค่า สูงเสียดฟ้าเขาโชงโดง ”



1. กะเปอร์เมืองธรรมะ : มีวัดแลถสถานที่ทางพุทธศาสนาที่คนเคาระพูชาอย่างเช่น วัดปทุมธาราราม

(วังมัจฉา) สร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรีตอนต้น เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของคนในอำเภอกะเปอร์


2. สักการะหลวงพ่อเบี้ยว : วัดธรรมาวุธาราม เป็นวัดราษฎร์  ได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง

ของอำเภอกะเปอร์ 


3. ท่องเที่ยวเกาะค้างคาว : เป็นเกาะใกล้ชายหาดบางเบนมากที่สุดจากหาดบางเบน เป็นที่อาศัย

ของค้างคาว แม่ไก่นับพันตัว 


4. หาดทรายยาวบางเบน : อุทยานแห่งชาติแหลมสน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของ 

จังหวัดระนอง


5. ป่าชายเลนล้ำค่า : สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 9 


6. สูงเสียดฟ้าเขาโชงโดง : บ้างก็เรียก เขาพ่อตาโจ้งโด้ง ยอดเขาที่มีความสูงที่ 975 เมตรจาก

ระดับน้ำทะเล อยู่ในอำเภอกะเปอร์ จุดตั้งแคมป์บริเวณริมผา



สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอำเภอกะเปอร์


1. น้ำตกสายรุ้งละอองดาว


2. หมู่เกาะกำ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแหลมสน


3. เขาพ่อตาโชงโดง 


4. บ้านอ่าวเคย


5. คลองลัดโนด บ้านแหลมนาว


6.  วัดปทุมธาราราม(วังมัจฉา)


7.  วัวัดธรรมาวุธาราม


8. บ้านไร่ไออรุณ


9. หาดบางเบน


10. คลองบางปรุ


วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

 


คำขวัญประจำอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง


คำขวัญประจำอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง


กันตัง เป็นอำเภอหนึ่งใน 10 อำเภอ ของจังหวัดตรัง


 ความหมายของ “กันตัง” สันนิษฐานว่าเป็นคำมลายู  หมายถึง  เครื่องชั่งวัดตวงวัดสิ่งของชนิดหนึ่ง

โดยเทียบเป็น  4 กันตัง เป็น 1 ถัง หรือ กันตังเท่ากับ 5 ทะนาน  หรือเปรียบเทียบกับ 1  แกลลอน 

หรือความหมายอีกอย่างคือ “กันตัง” เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่งในสกุล Alpimaวงศ์ Zingiberacese 

มีลักษณะคล้ายต้นข่า.


คำขวัญประจำอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง



อำเภอกันตังแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14 ตำบล 83 หมู่บ้าน ได้แก่


1. กันตัง (Kantang) -

2. ควนธานี (Khuan Thani) 6 หมู่บ้าน

3. บางหมาก (Bang Mak) 6 หมู่บ้าน

4. บางเป้า (Bang Pao) 7 หมู่บ้าน

5. วังวน (Wang Won) 5 หมู่บ้าน

6. กันตังใต้ (Kantang Tai) 6 หมู่บ้าน

7. โคกยาง (Khok Yang) 8 หมู่บ้าน

8. คลองลุ (Khlong Lu) 7 หมู่บ้าน

9. ย่านซื่อ (Yan Sue) 4 หมู่บ้าน

10. บ่อน้ำร้อน (Bo Nam Ron) 9 หมู่บ้าน

11. บางสัก (Bang Sak) 6 หมู่บ้าน

12. นาเกลือ (Na Kluea) 6 หมู่บ้าน

13. เกาะลิบง (Ko Libong) 8 หมู่บ้าน

14. คลองชีล้อม (Khlong Chi Lom) 5 หมู่บ้าน



คำขวัญประจำอำเภอกันตัง


“ กันตังเมืองสะอาด ธรรมชาติริมฝั่งน้ำ

สง่างามตำหนักจันทน์ พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎา 

ท่าเทียบเรือต่างประเทศ เขตกำเนิดยางพารา ”



1. กันตังเมืองสะอาด ธรรมชาติริมฝั่งน้ำ : ยกย่องอำเภอด้วยความสะอาด และ ธรรมช่ติริมน้ำ 

ถือว่าเปิดคำขวัญได้ดี


2. สง่างามตำหนักจันทน์ : เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งมีคุณค่า

ทางประวัติศาสตร์ เป็นจุดชมวิวมุมสูงบนเนินเขา สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ทั่วตัวเมืองกันตัง 


3. พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎา : เป็นที่ตั้งของสถานที่ประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือ "จวนเก่าเจ้าเมืองตรัง" 

หรือบ้านพักอดีตเจ้าเมืองตรังพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)


4. ท่าเทียบเรือต่างประเทศ : ท่าเรือกันตัง มีการขนส่งสินเค้าเข้าออกปริมาณมาก


5. เขตกำเนิดยางพารา : ยางพาราต้นแรกของประเทศไทย   ตั้งอยู่ริมถนนก่อนเข้าสู่ตัวอำเภอกันตัง 

หน้าสหกรณ์การเกษตรกันตัง เป็นต้นยางรุ่นแรกที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ยางพาราต้นแรกของ

ประเทศมาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง



สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอำเภอกันตัง


1. ถ้ำมรกต หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ถ้ำน้ำ ตั้งอยู่บริเวณ เกาะมุก : พิธีวิวาห์ใต้สมุทร บริเวณหน้าถ้ำมรกต


2. สถานีรถไฟกันตัง


3. พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี


4. ต้นยางพาราต้นแรกของประเทศไทย 


5. หาดสิวาลัย


6. วนอุทยานบ่อน้ำร้อนกันตัง


7. หาดเจ้าไหม 



วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี

 



คำขวัญประจำอำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี

คำขวัญประจำอำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี


อำเภอกะพ้อ เป็นอำเภอหนึ่งใน 12 อำเภอ ของ จังหวัดปัตตานี


อำเภอกะพ้อเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอสายบุรี ประกาศแยกเป็น กิ่งอำเภอกะพ้อ 


ต่อมาจึงได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็น อำเภอกะพ้อ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536  


คำว่า "กะพ้อ" เป็นชื่อของปาล์มชนิดหนึ่ง 


คำขวัญประจำอำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี


อำเภอกะพ้อแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล  



1. กะรุบี (Karubi)


2. ตะโละดือรามัน (Talo Due Raman)


3. ปล่องหอย (Plong Hoi)


คำขวัญประจำอำเภอกะพ้อ


“ เสน่ห์เทือกเขาบูโด กริชยาวใหญ่โตมโหฬาร


ลองกองมากมายมหาศาล มัสยิดสวยงามตระการตา ”



1. เสน่ห์เทือกเขาบูโด : ติดพื้นที่เทือกเขาบูโด  เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ตอนล่าง

ของประเทศไทย  เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาสันกาลาคีรี


2. กริชยาวใหญ่โตมโหฬาร : มีกริชที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ที่ อำเภอกะพ้อ  บ่งบอกถึงความ

เป็นชายชาตรี  ฐานะทางสังคมเศรษฐกิจ  ยศถาบรรดาศักดิ์ของผู้เป็นเจ้าของและตระกูล    


3. ลองกองมากมายมหาศาล : ปลูกผลไม้และพืชผลต่างๆ อาทิ ทุเรียน มังคุด ลองกอง สะตอ 

อย่างมากมาย


4. มัสยิดสวยงามตระการตา : แลนด์มาร์คแห่งใหม่จังหวัดปัตตานี มัสยิดบาโง  ต.กะรุบี อ.กะพ้อ 

มีซุ้มประตูที่สวยมาก  มัสยิดนูรุลอิสลาม ก็สวยเช่นกัน



สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอำเภอกะพ้อ



1. ชุมชนท่องเที่ยวบ้านเจาะกะพ้อใน : ชมรมอนุรักษ์นกเงือกอำเภอกะพ้อ

 

2. เทือกเขาบูโด ทะเลหมอกบูโด ชมพระอาทิตย์ตก จุดชมวิวทะเลหมอกบูโด 


3. ชิงช้าไม้กะพ้อ  : โฮมสเตย์กลางหุบ


4. โหนสลิง ตั้งอยู่บ้านมะแนดาแล ต.ปล่องหอย อ.กะพ้อ 


5. รถไม้ Formula Bow ตั้งอยู่บ้านมะแนดาแล ต.ปล่องหอย อ.กะพ้อ 


6. ล่องเรือน้ำตกนาวิน ตั้งอยู่บ้านมะแนดาแล ต.ปล่องหอย อ.กะพ้อ 


7. น้ำตกน้ำตาเศร้า


8. น้ำตกดินเด็ง


9. มัสยิดบาโง 




วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกะปง จังหวัดพังงา

 

คำขวัญประจำอำเภอกะปง จังหวัดพังงา


คำขวัญประจำอำเภอกะปง จังหวัดพังงา 


กะปง เป็นอำเภอหนึ่งใน 8 อำเภอ ของจังหวัดพังงา


เดิมอำเภอกะปงเป็นหมู่บ้านเล็กๆ อยู่ในท้องที่เมืองตะโกลา (ปัจจุบันคืออำเภอตะกั่วป่า) 


คำขวัญประจำอำเภอกะปง จังหวัดพังงา


อำเภอกะปงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 22 หมู่บ้าน ได้แก่


1. กะปง (Kapong) 4 หมู่บ้าน

2. ท่านา (Tha Na) 4 หมู่บ้าน

3. เหมาะ (Mo) 4 หมู่บ้าน

4. เหล (Le) 6 หมู่บ้าน

5. รมณีย์ (Rommani) 4 หมู่บ้าน



คำขวัญประจำอำเภอกะปง


“ ม่านหมอกเมืองใต้ ผลไม้นานา พระนารายณ์ล้ำค่า 

ศรัทธาหลวงพ่อเซ่ง ”



1. ม่านหมอกเมืองใต้ : เมืองสวยในม่านหมอกของจังหวัดพังงา ภูตาจอจุดชมวิวทะเลหมอกที่สูงที่สุด

ของเมืองพังงา  มีทะเลหมอกยามเช้าให้รับชม


2. ผลไม้นานา : มีสวนทุเรียนสาลิกาหลายสวน (ทุเรียนสาลิกา เป็นทุเรียนบ้านของทางภาคใต้) มังคุด ,

 ผลไม้ตามฤดูกาล


3. พระนารายณ์ล้ำค่า : วัดนารายณิการาม  เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์ เทวรูปพระลักษณ์ 

และเทวรูปพระนางสีดา ปีองค์จำลององค์จริงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 

ศิลาจารึกที่ยอดเขาเลียง อยู่ในวัด มีรูปสลัก ประวัติของเมืองตะโกลา  ศิลาจารึกอายุ 1,300– 1,400 

ซึ่งที่จริงมีพระวิษนุจากเขาพระนารายณ์ ศิลปะอินเดียใต้ ปัลลวะ-โจฬะ องค์เดียวของไทย


4. ศรัทธาหลวงพ่อเซ่ง : หลวงพ่อเซ่ง จันทมณี วัดอินทภูมิ (วัดปากถัก) อำเภอกะปง จังหวัดพังงา 

ศูนย์รวมแห่งจิตใจของชาวกะปง



สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอำเภอกระปง



1. วัดปากถัก หลวงพ่อเซ่ง : ศาสนสถานที่เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของชาวกะปง 


2. บริษัทจุติเหมืองแร่ : 


3. น้ำตกหินลาด : น้ำตกขนาดเล็กที่มีธารน้ำใสสะอาด


4. ภูตาจอ : จุดชมวิวทะเลหมอกที่สูงที่สุดของเมืองพังงา


5. ถนนคนเดินปากถัก เมืองเหมืองเก่า : 


6. บ่อน้ำพุร้อนปลายพู่ : 




วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา

 



คำขวัญประจำอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา 


กระแสสินธุ์ เป็นอำเภอหนึ่งใน 16 อำเภอของจังหวัดสงขลา 

 เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอระโนด ที่มาของชื่อ กระแสสินธุ์ คือเอา ตัวต้นของชื่อตำบล 3 ตำบอลมาตั้ง คือ 

ได้แก่ ก - มาจากตำบลเกาะใหญ่ 

ร - มาจากตำบลโรง

ส มาจากตำบลเชิงแส 

 แล้วนำมาประกอบกันถือปรัชญาแห่งความสามัคคีธรรม พอชื่อทั้ง 3มารวมกันแล้ว กระแสสินธุ์ 

มีความหมายว่า กระแสน้ำ เมืองที่สมบูรณ์ด้วยน้ำ

คำขวัญประจำอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา



อำเภอกระแสสินธุ์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 22 หมู่บ้าน



1. เกาะใหญ่ (Ko Yai) 9 หมู่บ้าน

2. โรง (Rong) 5 หมู่บ้าน

3. เชิงแส (Choeng Sae) 4 หมู่บ้าน

4. กระแสสินธุ์ (Krasae Sin) 4 หมู่บ้าน


คำขวัญประจำอำเภอกระแสสินธุ์



“ หลวงพ่อเดิมคู่บ้าน ดอกบัวบานทั่วถิ่น ธารารินทั่วเมือง 

สมเด็จเจ้าลือเลื่อง เมืองสะตอพันธุ์ดี ”




1. หลวงพ่อเดิมคู่บ้าน : หลวงพ่อเดิมวัดเอกเชิงแส สร้างด้วยหินประกางรัง ที่ศักดิ์สิทธิ์สวยงามแห่งหนึ่ง

อยู่ในอำเภอกระแสสินธุ์จังหวัดสงขลา เป็นที่เคารพสักการะของชาวกระแสสินธุ์


2. ดอกบัวบานทั่วถิ่น : พบเห็นดอกบัวบานได้ทั่วไป มีหมู่บ้านชื่อบ้านทุ่งบัวด้วย และมี ตลาดพรุบัว

บ้านเขาใน มีที่ชมบัว บัวหลากสี บัวผัน บัวเผื่อน จากธรรมชาติ เนื้อที่ ประมาณ 10 ไร่


3. ธารารินทั่วเมือง : สภาพภูมิประเทศเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำ เหมือนชื่อ กระแสสินธุ์

4. สมเด็จเจ้าลือเลื่อง : สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ วัดสูงเกาะใหญ่ เป็นที่เคารพสักการะของชาวกระแสสินธุ์ 


5. เมืองสะตอพันธุ์ดี : พันธุ์สะตอเกาะใหญ่  มีขนาดเม็ดใหญ่ กรอบหวาน กลิ่นไม่ฉุนไม่มีหนอนและแมลง 

ผัก ของขึ้นชื่อกระแสสินธุ์ สะตอของทางใต้ ที่นิยมกินกันในหน้าสะตอ รวมถึงคนภาคอื่นก็นิยมสั่งขึ้นมากิน

จากใต้เช่นกัน












วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

 



คำขวัญประจำอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์


อำเภอกระสัง เป็นอำเภอหนึ่งใน  23 อำเภอ ของจังหวัดบุรีรัมย์



เดิมเป็นเขตท้องที่ของตำบลห้วยราช อำเภอเมืองบุรีรัมย์ทั้งหมด ก่อนที่จะขอจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ 

และยกฐานะเป็นอำเภอในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ในปัจจุบัน เป็น 1 ใน 4 อำเภอของจังหวัด

ที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือผ่าน มีอาณาเขขตติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์


คำขวัญประจำอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์


อำเภอกระสังแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 168 หมู่บ้าน


1. กระสัง (Krasang) 21 หมู่บ้าน

2. ลำดวน (Lamduan) 18 หมู่บ้าน

3. สองชั้น (Song Chan) 17 หมู่บ้าน

4. สูงเนิน (Sung Noen) 19 หมู่บ้าน

5. หนองเต็ง (Nong Teng) 18 หมู่บ้าน

6. เมืองไผ่ (Mueang Phai) 13 หมู่บ้าน

7. ชุมแสง (Chum Saeng) 12 หมู่บ้าน

8. บ้านปรือ (Ban Prue) 15 หมู่บ้าน

9. ห้วยสำราญ (Huai Samran) 14 หมู่บ้าน

10. กันทรารมย์ (Kanthararom) 12 หมู่บ้าน

11. ศรีภูมิ (Si Phum) 9 หมู่บ้าน





คำขวัญประจำอำเภอกระสัง


“ แผ่นดินธรรมลำน้ำชี ประเพณีชนสามเผ่า ชุมชนเก่า

เมืองโบราณ กรอบหอมหวานกระยาสารท 

หัวผักกาด อบน้ำผึ้ง รสน่าทึ่งหมี่ยำไทย งามผ้าไหมพื้นเมือง ”




1. แผ่นดินธรรมลำน้ำชี :  ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ลำน้ำชี 


2. ประเพณีชนสามเผ่า : วัฒนธรรมชนสามเผ่า ชุมชนสามเผ่า ชุมชนพื้นเมืองทั้งสามชนเผ่า


3. ชุมชนเก่า : ชุมชนโบราณบ้านเมืองไผ่ พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคือเตาเผา ภาชนะดินเผา 

ลักษณะหมู่บ้านเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีการขุดพบโครงกระดูกและโบราณ วัตถุที่เป็นสิ่งของเครื่องใช้

ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องปั้นดินเผา มีทั้งประเภทที่เป็นเนื้อดินธรรมดา และเคลือบ


4. เมืองโบราณ : โบราณบ้านเมืองไผ่ ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์ผังเมือง

ชุมชนโบราณ


5. หัวผักกาด อบน้ำผึ้ง : การถนอมอาหารและของดีขึ้นชื่อของ อ.กระสัง. บุรีรัมย์  


6. รสน่าทึ่งหมี่ยำไทย : หมี่ยำกระสัง อาหารทานเล่น รสชาติจัดจ้านครบรส อาหารที่ขึ้นชื่อของอำเภอ


7. งามผ้าไหมพื้นเมือง : เป็นภูมิปัญญาการทอผ้าไหมมาแต่ครั้งโบราณกาล ส่งเสริมการท่องเที่ยว


ชุมชนและการกระจายรายได้ เลี้ยงและทอด้วยกันเองภายในท้องถิ่น



สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของอำเภอกระสัง บุรีรัมย์


พระพุทธชัยมงคลเฉลิมพระเกียรติ


สวนพันธุ์ศิริ


วัดจะเนียงวนาราม





วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง

 


คำขวัญประจำอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง


กระบุรี เป็นอำเภอหนึ่งใน 5 อำเภอ ของจังหวัดระนอง

 

มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นรวมถึง ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างพม่า ติดกับจังหวัดชุมพรเป็นแนวเขต

แดนทางภาคใต้ที่ติดกับพม่าทางเขตตะนาวศรี


คำขวัญประจำอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง



อำเภอกระบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 60 หมู่บ้าน ได้แก่

1. น้ำจืด (Nam Chuet) 9 หมู่บ้าน
2. น้ำจืดน้อย (Nam Chuet Noi) 6 หมู่บ้าน
3. มะมุ (Mamu) 8 หมู่บ้าน
4. ปากจั่น (Pak Chan) 11 หมู่บ้าน
5. ลำเลียง (Lamliang) 11 หมู่บ้าน
6. จ.ป.ร. (Choporo) 10 หมู่บ้าน
7. บางใหญ่ (Bang Yai) 5 หมู่บ้าน



คำขวัญประจำอำเภอกระบุรี




“ คอคอดกระ เสด็จพระแข่งเรือ



มากเหลือต้นจาก ของฝากซาลาเปา ”






1. คอคอดกระ คอคอดกระ หรือ กิ่วกระ เป็นส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายู บริเวณแม่น้ำกระบุรี 

ซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า  อยู่ในเขตบ้านทับหลี ตำบลมะมุ อำเภอกระบุรี 



2. เสด็จพระแข่งเรือ ประเพณีเสด็จพระแข่งเรือ เป็นงานที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นของชุมชนหมู่บ้าน

ทับหลี ตำบลมะมุ อำเภอกระบุรี จัดขึ้นในช่วงออกพรรษของทุกปี



3. มากเหลือต้นจาก  ตาลจาก ก็เป็นอีกหนึ่งพืชขึ้นชื่อของที่นี่ ตัดยอดจากทำใบยาสูบ และน้ำตาลจาก 

รวมไปถึงลูกจากมาทำขนมและอื่นๆ 



4.  ของฝากซาลาเปา ซาลาเปาทับหลี มะมุ ของมากชื่อดังของจังหวัดระนองและ อำเภอกระบุรี 

มีขายริมถนน และมีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ ถือเป็นของดีจังหวัดระนอง





สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของกระบุรี




คอคอดกระ ส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายูเป็นแนวกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า 



โครงการอาคารอัดน้ำบ้านโป่งรวย



ก้องวัลเลย์



ถ้ำพระขยางค์



น้ำตกงามมีศรี



น้ำตกชุมแสงหรือน้ำตกสายรุ้ง



น้ำตกบกกราย



วัดสุวรรณคีรี (วัดปากจั่น)



ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านทับหลีซาลาเปาทับหลี



อุโมงค์หลบภัยของทหารญี่ปุ่น



วิถีชนเผ่าอิ้วเมี่ยน



ศิลาพระปรมาภิไธย



วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น

 


คำขวัญประจำอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น

 กระนวน เป็นอำเภอหนึ่งใน 26 อำเภอ จังหวัดขอนแก่น


ที่ตั้งและอาณาเขต ติดต่อกับถึง 3 จังหวัด  จังหวัดอุดรธานี จังหวัดกาฬสินธุ์ และ จังหวัดมหาสารคาม

คำขวัญประจำอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น


อำเภอกระนวนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 98 หมู่บ้าน ได้แก่



1. หนองโก (Nong Ko) 19 หมู่บ้าน

2. หนองกุงใหญ่ (Nong Kung Yai) 13 หมู่บ้าน

3. ห้วยโจด (Huai Chot) 11 หมู่บ้าน

4. ห้วยยาง (Huai Yang) 9 หมู่บ้าน

5. บ้านฝาง (Ban Fang) 11 หมู่บ้าน

6. ดูนสาด (Dun Sat) 11 หมู่บ้าน

7. หนองโน (Nong No) 7 หมู่บ้าน

8. น้ำอ้อม (Nam Om) 8 หมู่บ้าน

9. หัวนาคำ (Hua Na Kham) 10 หมู่บ้าน



คำขวัญประจำอำเภอกระนวน



“ กระนวนแดนดินถิ่นเกษตร เขตปลูกอ้อย รอยต่อยางพารา 

ศูนย์กลางการค้า พัฒนาคุณธรรม ลือล้ำบุญบั้งไฟ 

เที่ยวบ๋าหลวงตาดโตนใส รวมน้ำใจถิ่นคนดี ”



1. กระนวนแดนดินถิ่นเกษตร ตรงตัวก็คือทำการเกษตรเป็นหลัก


2. เขตปลูกอ้อย ชาวบ้านทำไร้อ้อยกันเป็นจำนวนมาก มีการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ แปลงครัวเรือนต้นแบบ 


3. รอยต่อยางพารา เป็นอำเภอที่มีพื้นที่ปลูกยางพารามากที่สุดอำเภอหนึ่งของ จังหวัดขอนแก่น 

เพราะปลูกกันแทบทุกหมู่บ้านเลย


4. ศูนย์กลางการค้า หอการค้าจังหวัดขอนแก่น เชื่อมโยงเศรษฐกิจการค้า สู่อำเภอกระนวน จัดแสดง

และจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ OTOP ต่อยอดเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร 

สร้างรายได้สู่ชุมชน


5. พัฒนาคุณธรรม 


6. ลือล้ำบุญบั้งไฟ ประเพณีบุญบั้งไฟอำเภอกระนวน ประกวดขบวนแห่บั้งไฟ ประกวดบั้งไฟสวยงาม

 แข่งขันการจุดบั้งไฟขึ้นที่สูง สืบทอดประเพณีบุญบั้งไฟ


7. เที่ยวบ๋าหลวงตาดโตนใส น้ำตกบ๋าหลวง(ตาดโตน) น้ำใสไหลเย็น ท่ามกลางป่าไม้  ในพื้นที่ของป่าสงวนแห่งชาติป่าดงมูล 


8. รวมน้ำใจถิ่นคนดี 



ที่เที่ยวน่าสนใจของอำเภอกระนวน


หมู่บ้านงูจงอาง


ไร่สตรอว์เบอรี่ณัฐพรกระนวน


หลวงตาดโตนใส น้ำตกบ๋าหลวง(ตาดโตน) ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงมูล 


สะพานหินท่าลี่


สะพานไม้บ้านหัวหนอง


วัดป่าภูผาสวรรค์


บ้านสวนณัฐภัทร


หอเกียรติยศรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์




วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

 


คำขวัญประจำอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

 กระทุ่มแบน เป็นอำเภอหนึ่งใน 3 อำเภอ จังหวัดสมุทรสาคร


ตั้งอยู่ริมคลองภาษีเจริญ ตามประวัติศาสตร์อำเภอกระทุ่มแบนได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ

ลักษณะปกครองหัวเมือง ร.ศ. 116 ตรงกับปี พ.ศ. 2440

คำขวัญประจำอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร


อำเภอกระทุ่มแบนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 ตำบล 76 หมู่บ้าน ได้แก่



1. ตลาดกระทุ่มแบน (Talat Krathum Baen)

2. อ้อมน้อย (Om Noi)

3. ท่าไม้ (Tha Mai)

4. สวนหลวง (Suan Luang)

5. บางยาง (Bang Yang)

6. คลองมะเดื่อ (Khlong Maduea)

7. หนองนกไข่ (Nong Nok Khai)

8. ดอนไก่ดี (Don Kai Di)

9. แคราย (Khae Rai)

10. ท่าเสา (Tha Sao)


คำขวัญประจำอำเภอกระทุ่มแบน


“ ท่าจีนไหลผ่าน โรงงานมากมี ของดีเบญจรงค์ ดงกล้วยไม้งาม ”



1. ท่าจีนไหลผ่าน มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านอำเภอ ทางตรงกลางอำเภอ แล้วจึงไหลเป็นเขตแดนของ

อำเภอไหลไปเรื่อยๆ ผ่านอำเภอเมือง จึงลงสู่อ่าวไทย


2. โรงงานมากมี มีโรงงานอุตสาหกรรมตามเส้นหลักหลายแห่งเลยทีเดียว


3. ของดีเบญจรงค์ หมู่บ้านเบญจรงค์ ดอนไก่ดี หนึ่งในหมู่บ้านเบญจรงค์ของไทย ที่สวยงามมี

เอกลักษณ์อันโดดเด่นสืบทอดการผลิตเครื่องเบญจรงค์กันมาหลายชั่วอายุคน 


4. ดงกล้วยไม้งาม มีกล้วยไม้ปลูกมากที่สุดของประเทศไทย เลยก็ว่าได้ มีเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้

หลากหลายและเป็นมืออาชีพ



สถานที่ น่าสนใจของกระทุ่มแบน


วัดท่าไม้ วัดที่มีสติ๊กเกอร์ติดรถ เห็นกันทั่วบนท้องถนน วัดนี้เลย


วัดท่ากระบือ


วัดนางสาว วัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของสมุทรสาคร


วัดศรีสำราญราษฎร์บำรุง 


หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี


ปล่องเหลี่ยม (PLONG LIAM) 


ตลาดน้ำหนองพะอง


ตลาดแครายพลาซ่า ตลาดเก่าแก่ที่เปิดมานานกว่า 20 ปี ถนนคนเดิน


ตลาดประชารัฐวัดท่ากระบือ 


วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

 


คำขวัญประจำอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

เป็นอำเภอหนึ่งใน  8 อำเภอ จังหวัดยะลา 


กรงปินังมาจากคำว่า กำปงปิแน  ภาษามลายูท้องถิ่น คำว่า "กำปง" แปลว่า บ้านป่า ส่วนคำว่า '"ปิแน" 

หรือ "ปินัง" แปลว่าหมาก ซึ่งก็หมายความว่า หมู่บ้านหมาก โดยเป็นกิ่งอำเภอมาก่อนแยกพื้นที่

การปกครองออกจากอำเภอเมืองยะลา

คำขวัญประจำอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา



อำเภอกรงปินังแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 23 หมู่บ้าน ได้แก่



1. กรงปินัง (Krong Pinang) 9 หมู่บ้าน

2. สะเอะ (Sa-e) 6 หมู่บ้าน

3. ห้วยกระทิง (Huai Krathing) 4 หมู่บ้าน

4. ปุโรง (Purong) 4 หมู่บ้าน

 

คำขวัญประจำอำเภอกรงปินัง


“ ตำนานเมืองหมาก มากมีผลไม้

ธรรมชาติสดใส ใจคนงดงาม ”



1. ตำนานเมืองหมาก  หมู่บ้านหมาก คือชื่อของ กรงปินัง


2. มากมีผลไม้ มีผลไม้หลากหลายนานาชนิด อย่างเช่น ลองกอง กระท้อน


3. ธรรมชาติสดใส คำสร้อยเพราะมีแนวเขา ธรรมชาติที่ยังไม่ถูกบุกรุกมากมาย


4. ใจคนงดงาม สดุดีน้ำใจคนในอำเภอ ออกแนวเหมือนในคำขวัญ หลายๆที่ก็มีแบบนี้



ประชากรเกือบทั้งหมดเป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูและนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 99



ที่ตั้งและอาณาเขตอำเภอภายในประเทศไทย ไม่ได้อยู๋สุดขอบที่ติดกับมาเลย์



มีที่เที่ยวที่น่าสนใจเช่น 


น้ำตก บาโงบาตู


น้ำตกตะวันรัศมี


น้ำตก กม. 26 ตาเนาะปูเต็ะ


สวนขวัญเมือง


วัดคูหาภิมุข


ถ้ำศิลป์ (ถ้ำคูหาภิมุข)


สวนสาธารณะสนามโรงพิธีช้างเผือก


ตลาดต้องชม แลผาหน้าถ้ำ