วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

 



คำขวัญประจำอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์


อำเภอกระสัง เป็นอำเภอหนึ่งใน  23 อำเภอ ของจังหวัดบุรีรัมย์



เดิมเป็นเขตท้องที่ของตำบลห้วยราช อำเภอเมืองบุรีรัมย์ทั้งหมด ก่อนที่จะขอจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ 

และยกฐานะเป็นอำเภอในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ในปัจจุบัน เป็น 1 ใน 4 อำเภอของจังหวัด

ที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือผ่าน มีอาณาเขขตติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์


คำขวัญประจำอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์


อำเภอกระสังแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 168 หมู่บ้าน


1. กระสัง (Krasang) 21 หมู่บ้าน

2. ลำดวน (Lamduan) 18 หมู่บ้าน

3. สองชั้น (Song Chan) 17 หมู่บ้าน

4. สูงเนิน (Sung Noen) 19 หมู่บ้าน

5. หนองเต็ง (Nong Teng) 18 หมู่บ้าน

6. เมืองไผ่ (Mueang Phai) 13 หมู่บ้าน

7. ชุมแสง (Chum Saeng) 12 หมู่บ้าน

8. บ้านปรือ (Ban Prue) 15 หมู่บ้าน

9. ห้วยสำราญ (Huai Samran) 14 หมู่บ้าน

10. กันทรารมย์ (Kanthararom) 12 หมู่บ้าน

11. ศรีภูมิ (Si Phum) 9 หมู่บ้าน





คำขวัญประจำอำเภอกระสัง


“ แผ่นดินธรรมลำน้ำชี ประเพณีชนสามเผ่า ชุมชนเก่า

เมืองโบราณ กรอบหอมหวานกระยาสารท 

หัวผักกาด อบน้ำผึ้ง รสน่าทึ่งหมี่ยำไทย งามผ้าไหมพื้นเมือง ”




1. แผ่นดินธรรมลำน้ำชี :  ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ลำน้ำชี 


2. ประเพณีชนสามเผ่า : วัฒนธรรมชนสามเผ่า ชุมชนสามเผ่า ชุมชนพื้นเมืองทั้งสามชนเผ่า


3. ชุมชนเก่า : ชุมชนโบราณบ้านเมืองไผ่ พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคือเตาเผา ภาชนะดินเผา 

ลักษณะหมู่บ้านเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีการขุดพบโครงกระดูกและโบราณ วัตถุที่เป็นสิ่งของเครื่องใช้

ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องปั้นดินเผา มีทั้งประเภทที่เป็นเนื้อดินธรรมดา และเคลือบ


4. เมืองโบราณ : โบราณบ้านเมืองไผ่ ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์ผังเมือง

ชุมชนโบราณ


5. หัวผักกาด อบน้ำผึ้ง : การถนอมอาหารและของดีขึ้นชื่อของ อ.กระสัง. บุรีรัมย์  


6. รสน่าทึ่งหมี่ยำไทย : หมี่ยำกระสัง อาหารทานเล่น รสชาติจัดจ้านครบรส อาหารที่ขึ้นชื่อของอำเภอ


7. งามผ้าไหมพื้นเมือง : เป็นภูมิปัญญาการทอผ้าไหมมาแต่ครั้งโบราณกาล ส่งเสริมการท่องเที่ยว


ชุมชนและการกระจายรายได้ เลี้ยงและทอด้วยกันเองภายในท้องถิ่น



สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของอำเภอกระสัง บุรีรัมย์


พระพุทธชัยมงคลเฉลิมพระเกียรติ


สวนพันธุ์ศิริ


วัดจะเนียงวนาราม





วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง

 


คำขวัญประจำอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง


กระบุรี เป็นอำเภอหนึ่งใน 5 อำเภอ ของจังหวัดระนอง

 

มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นรวมถึง ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างพม่า ติดกับจังหวัดชุมพรเป็นแนวเขต

แดนทางภาคใต้ที่ติดกับพม่าทางเขตตะนาวศรี


คำขวัญประจำอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง



อำเภอกระบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 60 หมู่บ้าน ได้แก่

1. น้ำจืด (Nam Chuet) 9 หมู่บ้าน
2. น้ำจืดน้อย (Nam Chuet Noi) 6 หมู่บ้าน
3. มะมุ (Mamu) 8 หมู่บ้าน
4. ปากจั่น (Pak Chan) 11 หมู่บ้าน
5. ลำเลียง (Lamliang) 11 หมู่บ้าน
6. จ.ป.ร. (Choporo) 10 หมู่บ้าน
7. บางใหญ่ (Bang Yai) 5 หมู่บ้าน



คำขวัญประจำอำเภอกระบุรี




“ คอคอดกระ เสด็จพระแข่งเรือ



มากเหลือต้นจาก ของฝากซาลาเปา ”






1. คอคอดกระ คอคอดกระ หรือ กิ่วกระ เป็นส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายู บริเวณแม่น้ำกระบุรี 

ซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า  อยู่ในเขตบ้านทับหลี ตำบลมะมุ อำเภอกระบุรี 



2. เสด็จพระแข่งเรือ ประเพณีเสด็จพระแข่งเรือ เป็นงานที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นของชุมชนหมู่บ้าน

ทับหลี ตำบลมะมุ อำเภอกระบุรี จัดขึ้นในช่วงออกพรรษของทุกปี



3. มากเหลือต้นจาก  ตาลจาก ก็เป็นอีกหนึ่งพืชขึ้นชื่อของที่นี่ ตัดยอดจากทำใบยาสูบ และน้ำตาลจาก 

รวมไปถึงลูกจากมาทำขนมและอื่นๆ 



4.  ของฝากซาลาเปา ซาลาเปาทับหลี มะมุ ของมากชื่อดังของจังหวัดระนองและ อำเภอกระบุรี 

มีขายริมถนน และมีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ ถือเป็นของดีจังหวัดระนอง





สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของกระบุรี




คอคอดกระ ส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายูเป็นแนวกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า 



โครงการอาคารอัดน้ำบ้านโป่งรวย



ก้องวัลเลย์



ถ้ำพระขยางค์



น้ำตกงามมีศรี



น้ำตกชุมแสงหรือน้ำตกสายรุ้ง



น้ำตกบกกราย



วัดสุวรรณคีรี (วัดปากจั่น)



ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านทับหลีซาลาเปาทับหลี



อุโมงค์หลบภัยของทหารญี่ปุ่น



วิถีชนเผ่าอิ้วเมี่ยน



ศิลาพระปรมาภิไธย



วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น

 


คำขวัญประจำอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น

 กระนวน เป็นอำเภอหนึ่งใน 26 อำเภอ จังหวัดขอนแก่น


ที่ตั้งและอาณาเขต ติดต่อกับถึง 3 จังหวัด  จังหวัดอุดรธานี จังหวัดกาฬสินธุ์ และ จังหวัดมหาสารคาม

คำขวัญประจำอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น


อำเภอกระนวนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 98 หมู่บ้าน ได้แก่



1. หนองโก (Nong Ko) 19 หมู่บ้าน

2. หนองกุงใหญ่ (Nong Kung Yai) 13 หมู่บ้าน

3. ห้วยโจด (Huai Chot) 11 หมู่บ้าน

4. ห้วยยาง (Huai Yang) 9 หมู่บ้าน

5. บ้านฝาง (Ban Fang) 11 หมู่บ้าน

6. ดูนสาด (Dun Sat) 11 หมู่บ้าน

7. หนองโน (Nong No) 7 หมู่บ้าน

8. น้ำอ้อม (Nam Om) 8 หมู่บ้าน

9. หัวนาคำ (Hua Na Kham) 10 หมู่บ้าน



คำขวัญประจำอำเภอกระนวน



“ กระนวนแดนดินถิ่นเกษตร เขตปลูกอ้อย รอยต่อยางพารา 

ศูนย์กลางการค้า พัฒนาคุณธรรม ลือล้ำบุญบั้งไฟ 

เที่ยวบ๋าหลวงตาดโตนใส รวมน้ำใจถิ่นคนดี ”



1. กระนวนแดนดินถิ่นเกษตร ตรงตัวก็คือทำการเกษตรเป็นหลัก


2. เขตปลูกอ้อย ชาวบ้านทำไร้อ้อยกันเป็นจำนวนมาก มีการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ แปลงครัวเรือนต้นแบบ 


3. รอยต่อยางพารา เป็นอำเภอที่มีพื้นที่ปลูกยางพารามากที่สุดอำเภอหนึ่งของ จังหวัดขอนแก่น 

เพราะปลูกกันแทบทุกหมู่บ้านเลย


4. ศูนย์กลางการค้า หอการค้าจังหวัดขอนแก่น เชื่อมโยงเศรษฐกิจการค้า สู่อำเภอกระนวน จัดแสดง

และจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ OTOP ต่อยอดเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร 

สร้างรายได้สู่ชุมชน


5. พัฒนาคุณธรรม 


6. ลือล้ำบุญบั้งไฟ ประเพณีบุญบั้งไฟอำเภอกระนวน ประกวดขบวนแห่บั้งไฟ ประกวดบั้งไฟสวยงาม

 แข่งขันการจุดบั้งไฟขึ้นที่สูง สืบทอดประเพณีบุญบั้งไฟ


7. เที่ยวบ๋าหลวงตาดโตนใส น้ำตกบ๋าหลวง(ตาดโตน) น้ำใสไหลเย็น ท่ามกลางป่าไม้  ในพื้นที่ของป่าสงวนแห่งชาติป่าดงมูล 


8. รวมน้ำใจถิ่นคนดี 



ที่เที่ยวน่าสนใจของอำเภอกระนวน


หมู่บ้านงูจงอาง


ไร่สตรอว์เบอรี่ณัฐพรกระนวน


หลวงตาดโตนใส น้ำตกบ๋าหลวง(ตาดโตน) ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงมูล 


สะพานหินท่าลี่


สะพานไม้บ้านหัวหนอง


วัดป่าภูผาสวรรค์


บ้านสวนณัฐภัทร


หอเกียรติยศรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์




วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

 


คำขวัญประจำอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

 กระทุ่มแบน เป็นอำเภอหนึ่งใน 3 อำเภอ จังหวัดสมุทรสาคร


ตั้งอยู่ริมคลองภาษีเจริญ ตามประวัติศาสตร์อำเภอกระทุ่มแบนได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ

ลักษณะปกครองหัวเมือง ร.ศ. 116 ตรงกับปี พ.ศ. 2440

คำขวัญประจำอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร


อำเภอกระทุ่มแบนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 ตำบล 76 หมู่บ้าน ได้แก่



1. ตลาดกระทุ่มแบน (Talat Krathum Baen)

2. อ้อมน้อย (Om Noi)

3. ท่าไม้ (Tha Mai)

4. สวนหลวง (Suan Luang)

5. บางยาง (Bang Yang)

6. คลองมะเดื่อ (Khlong Maduea)

7. หนองนกไข่ (Nong Nok Khai)

8. ดอนไก่ดี (Don Kai Di)

9. แคราย (Khae Rai)

10. ท่าเสา (Tha Sao)


คำขวัญประจำอำเภอกระทุ่มแบน


“ ท่าจีนไหลผ่าน โรงงานมากมี ของดีเบญจรงค์ ดงกล้วยไม้งาม ”



1. ท่าจีนไหลผ่าน มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านอำเภอ ทางตรงกลางอำเภอ แล้วจึงไหลเป็นเขตแดนของ

อำเภอไหลไปเรื่อยๆ ผ่านอำเภอเมือง จึงลงสู่อ่าวไทย


2. โรงงานมากมี มีโรงงานอุตสาหกรรมตามเส้นหลักหลายแห่งเลยทีเดียว


3. ของดีเบญจรงค์ หมู่บ้านเบญจรงค์ ดอนไก่ดี หนึ่งในหมู่บ้านเบญจรงค์ของไทย ที่สวยงามมี

เอกลักษณ์อันโดดเด่นสืบทอดการผลิตเครื่องเบญจรงค์กันมาหลายชั่วอายุคน 


4. ดงกล้วยไม้งาม มีกล้วยไม้ปลูกมากที่สุดของประเทศไทย เลยก็ว่าได้ มีเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้

หลากหลายและเป็นมืออาชีพ



สถานที่ น่าสนใจของกระทุ่มแบน


วัดท่าไม้ วัดที่มีสติ๊กเกอร์ติดรถ เห็นกันทั่วบนท้องถนน วัดนี้เลย


วัดท่ากระบือ


วัดนางสาว วัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของสมุทรสาคร


วัดศรีสำราญราษฎร์บำรุง 


หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี


ปล่องเหลี่ยม (PLONG LIAM) 


ตลาดน้ำหนองพะอง


ตลาดแครายพลาซ่า ตลาดเก่าแก่ที่เปิดมานานกว่า 20 ปี ถนนคนเดิน


ตลาดประชารัฐวัดท่ากระบือ 


วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

 


คำขวัญประจำอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

เป็นอำเภอหนึ่งใน  8 อำเภอ จังหวัดยะลา 


กรงปินังมาจากคำว่า กำปงปิแน  ภาษามลายูท้องถิ่น คำว่า "กำปง" แปลว่า บ้านป่า ส่วนคำว่า '"ปิแน" 

หรือ "ปินัง" แปลว่าหมาก ซึ่งก็หมายความว่า หมู่บ้านหมาก โดยเป็นกิ่งอำเภอมาก่อนแยกพื้นที่

การปกครองออกจากอำเภอเมืองยะลา

คำขวัญประจำอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา



อำเภอกรงปินังแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 23 หมู่บ้าน ได้แก่



1. กรงปินัง (Krong Pinang) 9 หมู่บ้าน

2. สะเอะ (Sa-e) 6 หมู่บ้าน

3. ห้วยกระทิง (Huai Krathing) 4 หมู่บ้าน

4. ปุโรง (Purong) 4 หมู่บ้าน

 

คำขวัญประจำอำเภอกรงปินัง


“ ตำนานเมืองหมาก มากมีผลไม้

ธรรมชาติสดใส ใจคนงดงาม ”



1. ตำนานเมืองหมาก  หมู่บ้านหมาก คือชื่อของ กรงปินัง


2. มากมีผลไม้ มีผลไม้หลากหลายนานาชนิด อย่างเช่น ลองกอง กระท้อน


3. ธรรมชาติสดใส คำสร้อยเพราะมีแนวเขา ธรรมชาติที่ยังไม่ถูกบุกรุกมากมาย


4. ใจคนงดงาม สดุดีน้ำใจคนในอำเภอ ออกแนวเหมือนในคำขวัญ หลายๆที่ก็มีแบบนี้



ประชากรเกือบทั้งหมดเป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูและนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 99



ที่ตั้งและอาณาเขตอำเภอภายในประเทศไทย ไม่ได้อยู๋สุดขอบที่ติดกับมาเลย์



มีที่เที่ยวที่น่าสนใจเช่น 


น้ำตก บาโงบาตู


น้ำตกตะวันรัศมี


น้ำตก กม. 26 ตาเนาะปูเต็ะ


สวนขวัญเมือง


วัดคูหาภิมุข


ถ้ำศิลป์ (ถ้ำคูหาภิมุข)


สวนสาธารณะสนามโรงพิธีช้างเผือก


ตลาดต้องชม แลผาหน้าถ้ำ


วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

 


คำขวัญประจำอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

เป็นอำเภอหนึ่งใน 18 อำเภอ จังหวัดกาฬสินธุ์


 เดิมพื้นที่นี้คือ เมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่ในอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ 

ปัจจุบันเหลือแต่ซากอิฐปนดิน แบบทวาราวดี  

คำขวัญประจำอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์



อำเภอกมลาไสยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 111 หมู่บ้าน ได้แก่


1. กมลาไสย (Kamalasai) 18 หมู่บ้าน

2. หลักเมือง (Lak Mueang) 14 หมู่บ้าน

3. โพนงาม (Phon Ngam) 13 หมู่บ้าน

4. ดงลิง (Dong Ling) 17 หมู่บ้าน

5. ธัญญา (Thanya) 15 หมู่บ้าน

6. หนองแปน (Nong Paen) 9 หมู่บ้าน

7. เจ้าท่า (Chao Tha) 16 หมู่บ้าน

8. โคกสมบูรณ์ (Khok Sombun) 9 หมู่บ้าน



คําขวัญประจําจังหวัดอำเภอกมลาไสย มีอยู่ว่า



“ ประเพณีแข่งเรือยาว อู่ข้าวเหลืองสิบเอ็ด ถิ่นเกษตรอุตสาหกรรม. 


วัฒนธรรมเส็งกลองกิ่ง ใบเสมางามยิ่ง เมืองฟ้าแดดสงยาง. ”



1. ประเพณีแข่งเรือยาว ประเพณีแข่งขันเรือยาวอำเภอกมลาไสย เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เนื่องจากอำเภอกมลาไสยเป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ริมฝั่งลำน้ำปาว


2. อู่ข้าวเหลืองสิบเอ็ด ข้าวเจ้าเหลือง 11 เป็นข้าวที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ 


3. ถิ่นเกษตรอุตสาหกรรม ยุทธศาสตร์การพัฒนา ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้าน

การเกษตร เกษตรอุตสาหกรรม และ การปศุสัตว์ มุ่งสู่จังหวัดเกษตรอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ต้นแบบของประเทศ


4. วัฒนธรรมเส็งกลองกิ่ง การเส็งกลองกิ่ง เป็นการละเล่นพื้นบ้าน งานประเพณีมหกรรมเส็งกลองร่องคำ

 การละเล่น สนุกสนานเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน มีหลายพื้นที่ในแถบภาคอีสาน ที่กาฬสินธุ ก็เช่นกัน


5. ใบเสมางามยิ่ง ขุดพบใบเสมาจำนวนมากและยังพบใบเสมาโบราณอายุกว่าพันปีในบ้านเล้า 

อ.กมลาไสย วัฒนธรรมใบเสมาที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา


6.  เมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่ในอำเภอกมลาไสย พบว่ามีการเข้ามาอยู่อาศัยของ

มนุษย์ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 2,200 ปีมาแล้ว



จุดที่น่าสนใจไปเยือนของ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์


พระธาตุยาคู โบราณสถานที่สมบูรณ์และใหญ่ที่สุดที่พบในเเมืองฟ้าแดดสงยางสันนิษฐานว่าเป็นสิ่งเดียว

ที่ไม่ถูกทำลายหลังจากเมืองต้องตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม


วัดโพธิ์ชัยเสมาราม วัดโบราณ เป็นวัดเก่า มีใบเสมาหินสมัยทวาราวดี ที่ขุดพบมารวบรวมไว้จำนวนมาก 


เมืองฟ้าแดดสูงยาง เมืองโบราณ แบบทวาราวดีประมาณ 2,200 ปีมาแล้ว 




วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

 


คำขวัญประจำอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

คำขวัญประจำอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี


เป็นอำเภอหนึ่งใน  7 อำเภอ จังหวัดปราจีนบุรี


อำเภอกบินทร์บุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14 ตำบล 193 หมู่บ้าน ได้แก่


1. กบินทร์ (Kabin) 12 หมู่บ้าน

2. เมืองเก่า (Mueang Kao) 22 หมู่บ้าน

3. วังดาล (Wang Dan) 16 หมู่บ้าน

4. นนทรี (Nonsi) 16 หมู่บ้าน

5. ย่านรี (Yan Ri) 12 หมู่บ้าน

6. วังตะเคียน (Wang Takhian) 17 หมู่บ้าน

7. หาดนางแก้ว (Hat Nang Kaeo) 7 หมู่บ้าน

8. ลาดตะเคียน (Lat Takhian) 13 หมู่บ้าน

9. บ้านนา (Ban Na) 11 หมู่บ้าน

10. บ่อทอง (Bo Thong) 10 หมู่บ้าน

11. หนองกี่ (Nong Ki) 12 หมู่บ้าน

12. นาแขม (Na Khaem) 11 หมู่บ้าน

13. เขาไม้แก้ว (Khao Mai Kaeo) 11 หมู่บ้าน

14. วังท่าช้าง (Wang Tha Chang) 23 หมู่บ้าน


คำขวัญประจำอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี


             คำขวัญประจำอำเภอกบินทร์บุรี  คือ 


“ เมืองด่านหนุมาน ประตูสู่อีสานด้านบูรพา

ต้นธาราบางปะกง ดงกระเฉดชะลูดน้ำ

เหมืองแร่ทองคำบ่อทอง หนองปลาแขยงแหล่งน้ำ

เขตอุตสาหกรรมที่ดี วัดมากมีคู่เมือง ”



1. เมืองด่านหนุมาน กบินทร์บุรี มีควาหมมายว่าเมืองแห่งพญาวานร ซึ่งเป็นชื่อดั้งเดิมของเมืองนี้ คือ 

ด่านหนุมาน ส่วนประวัตินั้นไซร้ เข้าเว็บของอำเภอไปจัดให้ละเอียดเลยก็ได้ ถ้าใครสนใจนะจ๊ะ


2. ประตูสู่อีสานด้านบูรพา เป็นจังหวัดทางภาคตะวันออก ที่เป็นประตูเข้าไปสู่ภาคอีสาน


3. ต้นธาราบางปะกง เป็นต้นน้ำของแม่น้ำบางปะกง ที่มาจากแควหนุมานและคลองพระปรง


4.  ดงกระเฉดชะลูดน้ำ มีการปลูกผักกระเฉดชะลูดน้ำ ที่มาจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน เนื่องจาก

พื้นที่ ต.เมืองเก่า อ.กบินทร์บุรีเป็นที่ลุ่ม ทำให้ช่วงหน้าฝนมีน้ำท่วมตลอดทุกปี ทำให้เวลาท่วมผักกระเฉด

จะรีบงอกหนีน้ำอย่างรวดเร็วมาก ทำให้ยอดที่งอกมาใหม่นั้น ยาวสวยไม่อวบ ดูสะอาดน่ากิน ทางเกษตรกร

จึงได้คิดหาวิธี ตัดยอกผักจากแปลงมาผูกกับหลักกดลงในน้ำจนท่วมยอด ทำให้ยอดเติบโตหนีน้ำขึ้นมา

 ยอดสวยน่ากิน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ยอดเยี่ยมในการหาวิธีอยู่ร่วมกับ ธรรมชาติของน้ำท่วมแต่ยัง

สามารถมีผลผลิตได้


5. เหมืองแร่ทองคำบ่อทอง มีแหล่งทองคําในภาคกลางและภาคตะวันออก ค้นพบแหล่งแร่ทองคำ 

บ้านบ่อทอง เปิดดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2516 


6.หนองปลาแขยงแหล่งน้ำ เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีความเชื่อว่าหนองน้ำแห่งนี้มีปลาแขยงอยู่

เป็นจำนวนมาก ในอดีต


7. เขตอุตสาหกรรมที่ดี  เขตอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกิดขึ้นหลายแห่ง

 นักลงทุนเริ่มเข้ามากว้านซื้อที่ดินจำนวนมาก แบ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ได้ 3 แห่งคือ

เขตอุตสาหกรรม 304 (คลองรั้ง) เครือสหพัฒน์กบินทร์บุรี และเขตอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี และยังมี 

เขตอุตสาหกรรมบ่อทอง (อยู่ระหว่างการพัฒนา)


8. วัดมากมีคู่เมือง มีวัดมากมายใน อำเภอนี้ ตามนี้


วัดคชรัตน์ ตำบลกบินทร์


วัดคลองกลาง ตำบลกบินทร์


วัดโคกป่าแพง ตำบลกบินทร์


วัดท่าพาณิชย์ ตำบลกบินทร์


วัดทุ่งแฝก ตำบลกบินทร์ 


วัดนางเลง ตำบลกบินทร์


วัดปากแพรก ตำบลกบินทร์


วัดพระยาทำ ตำบลกบินทร์


วัดศรีกบินทร์ ตำบลกบินทร์


วัดสระดู่ (สระดู่ศรัทธาทำ) ตำบลกบินทร์


วัดโสมสุทธาวาส ตำบลกบินทร์


วัดชามีพุทโธวาท ตำบลนนทรี


วัดตันทาราม ตำบลนนทรี


วัดนูประสาทวราวาส ตำบลนนทรี


วัดโนนสะอาด ตำบลนนทรี


วัดบ้านโคกสว่าง ตำบลนนทรี


วัดมุ่งประสิทธิ์ ตำบลนนทรี 


วัดศรีสุวรรณาราม ตำบลนนทรี


วัดสระขุด ตำบลนนทรี 


วัดหนองบัว ตำบลนนทรี


วัดคลองตามั่น ตำบลเขาไม้แก้ว


และอีกมากมาย ถ้าอยากรู้ไปดูที่ google แล้วพิมว่า รายชื่อวัดในจังหวัดปราจีนบุรี อำเภอเดียว อย่างต่ำ

 104 วัด เห็นจะได้ และอาจมีอีกที่ตกหล่น ให้ค้นหารายชื่อวัดปราจีนก็จริง แต่ ที่บอกว่า 100 กว่าวัดนั้นอะ แค่ของ กบินทร์บุรี เท่านั้นนะ อำเภออื่น

ก็ยังมีอีกเพียบ


วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

 


คำขวัญประจำอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง


 เป็นอำเภอหนึ่งใน 11 อำเภอ ของจังหวัดพัทลุง ห่างจากตัวเมืองพัทลุง 42 กิโลเมตร 


อำเภอกงหราแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 45 หมู่บ้าน ได้แก่


1. กงหรา (Kong Ra) 7 หมู่บ้าน

2. ชะรัด (Charat) 9 หมู่บ้าน

3. คลองเฉลิม (Khlong Chaloem) 14 หมู่บ้าน

4. คลองทรายขาว (Khlong Sai Khao) 8 หมู่บ้าน

5. สมหวัง (Som Wang) 7 หมู่บ้าน

คำขวัญประจำอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง


             คำขวัญประจำอำเภอกงหรา  คือ 


“ เขาบรรทัดงามสง่า ธรรมชาติเพลินตา 


ฉ่ำอุราน้ำตก ผลไม้ดกรสอร่อย ”


1. เขาบรรทัดงามสง่า จุดชมวิวอันแสนสวยงาม เทือกเขาบรรทัด มีเขาล่อน เป็น ยอดเขาสูงยอด

หนึ่งในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด 


2. ธรรมชาติเพลินตา มีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ทะเลหมอก วิวสวย  ควนนกเต้น จุดชมวิว


3. ฉ่ำอุราน้ำตก มีน้ำตกสวยงามมากมายอย่าง น้ำตกมโนราห์ น้ำตกปากราง น้ำตกไพรวัลย์ 

น้ำตกนกรำ น้ำตกหนานหรูด น้ำตกไร่เหนือ  น้ำตกน้ำน้อย น้ำตกหนานสูง น้ำตกวังตอ 


4. ผลไม้ดกรสอร่อย เป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ บางปีนั้นดกมากจนเหลือเลยก็มี มีผลไม้ปลูก

ส่งขาย หลักๆ คือ มังคุด เงาะ ทุเรียน ลองกอง และยังมีพืช แต่มันไม่ได้อยู๋ในคำขวัญเลยไม่ได้ยกมา

แต่ก็ยังมีพืชที่เป็นผลไม้ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน อย่างอื่นอีก เช่น โกโก้ กล้วย สละ 



เพิ่มเติม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง


ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 80 และนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 20 อยู่ร่วมกัน

อย่างสันติสุข 


มีอาณาเขต ติดต่อกับจังหวัดตรัง



ที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของอำเภอกงหรา มีหลายแห่ง เช่น


จุดชมวิว ควนนกเต้น ทะเลหมอกยามเช้า แลนด์มาร์คใหม่ของจังหวัดพัทลุง


แพรกหัวเต่า โฮมสเตย์


น้ำตกมโนราห์ อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด


น้ำตกปากราง จุดที่โด่งดังของจังหวัด อยู่ที่ตำบลคลองทรายขาว 


น้ำตกไพรวัลย์ เป็นน้ำตกชื่อดังของพัทลุงเลยค่ะ เพราะมีขนาดใหญ่ที่สุดในพัทลุง 


น้ำตกนกรำ หรือ น้ำตกบ้านคลองหวะหลัง 


น้ำตกหนานหรูด เหมาะแก่การไปนั่งชิวๆ เเค้มปิ้ง บรรยากาศดี ใกล้ๆกับควนนกเต้น


น้ำตกไร่เหนือ  น้ำตกมีชั้นค่อนข้างสูง ไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้น 


น้ำตกน้ำน้อย ตำบล คลองเฉลิม อำเภอ กงหรา 


น้ำตกหนานสูง น้ำตกที่ไหลลงมาจากเทือกเขาซ่อนตัวอยู่ในป่าลึก ในรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด 


น้ำตกวังตอ น้ำตกใกล้ๆ จุดชมวิวควนนกเต้น


ไร่ชา 1000 ไมล์ คาเฟ่วิวอลังการโอบล้อมไปด้วยภูเขา





วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คำขวัญประจำอำเภอกงไกรลาศ สุโขทัย

 


คำขวัญประจำอำเภอกงไกรลาศ สุโขทัย


คำขวัญประจำอำเภอกงไกรลาศ สุโขทัย 


 เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดสุโขทัย

คำขวัญประจำอำเภอกงไกรลาศ สุโขทัย


อำเภอกงไกรลาศแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 109 หมู่บ้าน ได้แก่


1. กง (Kong)

2. บ้านกร่าง (Ban Krang)

3.ไกรนอก (Krai Nok)

4.ไกรกลาง (Krai Klang)

5.ไกรใน (Krai Nai)

6.ดงเดือย (Dong Dueai)

7.ป่าแฝก (Pa Faek)

8.กกแรต (Kok Raet)

9.ท่าฉนวน (Tha Chanuan)

10.หนองตูม (Nong Tum)

11.บ้านใหม่สุขเกษม (Ban Mai Suk Kasem)


             คำขวัญประจำอำเภอกงไกรลาศ  คือ 


“ ทองม้วนชวนกิน อร่อยลิ้นขนมผิง

ปลาร้าเด็ดจริง ยอดยิ่งน้ำปลาดี ”




1. ทองม้วนชวนกิน เป็นขนมไทย ของดีอำเภอกงไกรลาศเป็นของฝากขึ้นชื่อของจังหวัด ประหนึ่ง

เหมือนพังงามีแกงไตปลา นั่นแหละ


2. อร่อยลิ้นขนมผิง  เป็นขนมไทยดั้งเดิมของฝากอำเภอกงไกรลาศ  เป็นภูมิปัญญาของคนอำเภอ

กงไกรลาศ มาตั้งแต่โบราณผลิตภัณฑ์โอทอป 5 ดาว ประจำปี 2562 อีกด้วย


3. ปลาร้าเด็ดจริง สมัยก่อนนั้นเขตพื้นที่ของที่นี่นั้น มีการหาปลากันมากมายหาปลามาขาย มาทำ

น้ำปลาและปลาร้าของดีเมืองกงไกรลาศ เด็ดมาก มีทั้ง ปลาร้า ปลาร้าก้อน ปลาแดดเดียว หัวเชื้อน้ำปลา 


4. ยอดยิ่งน้ำปลาดี เหตุผลตามข้อ 3 เลย 



** กงไกรลาศเดิมเป็นแขวงหนึ่งของเมืองสุโขทัย  


พ.ศ. 2460 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่ออำเภอกงไกรลาศเป็นอำเภอบ้านไกร 


พ.ศ. 2482 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่ออำเภอบ้านไกรเป็นอำเภอกงไกรลาศดังเดิม เนื่องจากชื่อ

กงไกรลาศ ปรากฏในประวัติศาสตร์ไทยมายาวนาน


มี เขตติดต่อกับ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอคีรีมาศและอำเภอเมืองสุโขทัย



สถานที่สำคัญ ที่น่าไป


วัดกงไกรลาศ วัดสำคัญของชุมชนบ้านกงและอำเภอกงไกรลาศในปัจจุบัน มี หลวงพ่อโตวิหารลอย

เป็นสถานที่ที่เก่าแก่ สร้างขึ้นเมื่อปี 2333  พระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย

 

ตลาดริมยม ตลาดย้อนยุค  ถนนคนเดินเส้นทางวัฒนธรรมบ้านกง ที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและ

วิถีชีวิต  บ้านกงเป็นชุมชนเก่าแก่ตั้งมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2437 


พิพิธภัณฑ์วัดทุ่งเนินพยอม พิพิธภัณฑ์ที่ก่อสร้างขึ้น เพื่อรวบรวมโบราณวัตถุ ที่ทางวัดเก็บสะสมไว้

เป็นจำนวนมาก