วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คําขวัญแต่ละประเทศในอาเซียน




คําขวัญแต่ละประเทศในอาเซียน

คําขวัญแต่ละประเทศในอาเซียน


คำขวัญอาเซียนคือ


 “One Vision, One Identity, One Community”

 “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม”


ข้อมูลจาก -- > คำขวัญแต่ละประเทศอาเซียน

1.คําขวัญประเทศไทย  : ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ปัจจุบัน

(หลัง พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา - ไม่เป็นทางการ) ของเดิมคือ

ความพร้อมเพรียงของชนผู้เป็นหมู่ ยังความเจริญให้สำเร็จ



2. คําขวัญประเทศกัมพูชา : ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

(แนวเดียวกับไทย หลายๆอย่างเลย)



3. คําขวัญประเทศลาว : สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร

"Peace, independence, democracy, unity and prosperity"



4. คําขวัญประเทศเวียดนาม : เอกราช อิสรภาพ ความสุข

"Independence – Freedom – Happiness"



5. คําขวัญสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (พม่า) : ยังไม่มีคำขวัญ



6. คําขวัญประเทศมาเลเซีย : สามัคคีคือพลัง Unity Is Strength

(อันนี้เราคุ้นกันมาก)



7. คําขวัญประเทศสิงคโปร์ : สิงคโปร์จงรุดหน้า (สิงคโปร์จงเจริญ)

Majulah Singapura สิงกะปุระ (สิงคโปร์)



8. คําขวัญประเทศอินโดนีเซีย : ความสามัคคีท่ามกลางความหลากหลาย

(ความหลากหลายทางเชื้อชาติ ภาษาและวัฒนธรรมในอินโดนีเซีย)

"Unity in Diversity" * Bhinneka Tunggal Ika



9. คําขวัญประเทศบรูไน : น้อมรับใช้ตามแนวทางของพระเจ้าเสมอ

(ศาสนาอิสลาม)

(Always in service with God's guidance)



10. คําขวัญประเทศฟิลิปปินส์ : เพื่อพระเป็นเจ้า ประชาชน ธรรมชาติ และประเทศ

"For God, People, Nature, and Country"



11. คําขวัญประเทศติมอร์-เลสเต : เอกภาพ การกระทำ ความก้าวหน้า

"Unity, Action, Progress"





คําขวัญอาเซียน (ASEAN’s motto)




คําขวัญอาเซียน (ASEAN’s motto) 

คําขวัญอาเซียน (ASEAN’s motto) ใช้เป็นคำขวัญประจำกลุ่มประเทศ

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน นั่นก็คือ


คำขวัญอาเซียน


 “One Vision, One Identity, One Community” 


ซึ่งแปลเป็นไทยว่า 


“หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม”



คือ วิสัยทัศน์เดียวกันของอาเซียน


ทุกประเทศเป็นอัตลักษณ์เอกลักษณ์ที่แตกต่างเป็น หนึ่งเดียวกัน

หนึ่งประชาคมนี้ ประชาคมอาเซียน

เป็นคำขวัญที่รวมให้อาเซียนเป็นหนึ่ง คำขวัญอาเซียน

การรวมกลุ่มกันได้ของอาเซียน เพื่อความแข็งแกร่งการต่อรอง การพัฒนา

ร่วมกันของประเทศภายในกลุ่มอาเซียน

คำขวัญอาเซียนนี้จึง สำคัญในแง่เชิงสัญลักษณ์ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

ของชาวอาเซียน





วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คําขวัญประจําจังหวัดอุทัยธานี




คําขวัญประจําจังหวัดอุทัยธานี

เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ 3,000 ปี มาแล้ว


มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า


“ อุทัยธานี เมืองพระชนกจักรี 

ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว 

ส้มโอบ้านน้ำตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง 

แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ ”



คําขวัญประจําจังหวัดอุทัยธานี มีความหมายว่า



อุทัยธานี เมืองพระชนกจักรี  สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ

ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรมโกษฐ์ ที่ "บ้านสะแกกรัง" เมืองอุทัยธานี

รับบรรดาศักดิ์เป็นที่ หลวงพินิจอักษร และ พระอักษรสุนทรศาสตร์

เป็นพระบรมราชชนก ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


ปลาแรดรสดี มีเทศกาลกินปลาแรด อุทัยธานี รสดีที่สุดในโลก มีเนื้อมาก

รสหวาน อร่อย


ประเพณีเทโว วันเทโวโรหณะ ประเพณีตักบาตรเทโว ในวันออกพรรษา


ส้มโอบ้านน้ำตก ส้มโอหวาน กรอบอร่อย


มรดกโลกห้วยขาแข้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นพื้นที่ที่ได้รับ

การจดทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก (UNESCO)


แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง เป็นแหล่งต้นแม่น้ำสะแกกรัง ที่แยกมาจาก

แม่น้ำเจ้าพระยา


ตลาดนัดดังโคกระบือ มีตลาดนัดโค - กระบือ ที่ตำบลหนองหญ้าปล้อง

อำเภอทัพทัน






คําขวัญประจําจังหวัดอุตรดิตถ์




คําขวัญประจําจังหวัดอุตรดิตถ์

เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง ของประเทศไทย


มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า


“ เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน 

บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก ”


คําขวัญประจําจังหวัดอุตรดิตถ์ มีความหมายว่า


เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง บ่อเหล็กน้ำพี้ เป็นแหล่งสินแร่เหล็กตามธรรมชาติ

ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำพี้ หมู่ 1 ตำบลน้ำพี้ อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์

แร่เหล็กจากบ่อเหล็กน้ำพี้ไปถลุงทำอาวุธเพื่อใช้ในการศึกสงคราม

มาตั้งแต่สมัยโบราณ


เมืองลางสาดหวาน เทศกาลลางสาด ลองกองหวาน เป็นแหล่งปลูกลางสาด

หวานที่มากที่สุดในประเทศไทย  มีคุณภาพดี และมีรสชาติหวาน


บ้านพระยาพิชัยดาบหัก พระยาพิชัยดาบหัก เกิดที่บ้าน ห้วยคา อำเภอพิชัย

จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ. 2284 ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา


ถิ่นสักใหญ่ของโลก วนอุทยานต้นสักใหญ่มีต้นสักใหญ่ที่สุดในโลก

มีอายุซึ่งประมาณว่าไม่น้อยกว่า 1,500 ปี





คําขวัญประจําจังหวัดอำนาจเจริญ




 คําขวัญประจําจังหวัดอำนาจเจริญ

มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานจากการค้นพบแหล่งชุมชนโบราณ โบราณสถาน

และโบราณวัตถุ มากมาย


มีคำขวัญประจำจังหวัด ว่า


“ พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ 

งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตพระเหลา 

เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม 

ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม ”


 คําขวัญประจําจังหวัดอำนาจเจริญ มีความหมายว่า



พระมงคลมิ่งเมือง ประดิษฐานอยู่ที่เขาดานพระบาท อำเภอเมืองอำนาจเจริญ

หน้าตักกว้าง 11 เมตร มีความสูง 20 เมตร


แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ  การก่อตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ ได้มาจากการรวม

อำเภอด้านเหนือของจังหวัดอุบลราชานี ที่มาจากชาวลุ่มน้ำต่างๆ ๗ ลุ่มน้ำ

ได้แก่

ชาวลุ่มน้ำโขง -อำเภอชานุมาน

ชาวลุ่มน้ำละโอง-อำเภอเสนางคนิคม

ชาวลุ่มน้ำพระเหลา-อำเภอพนา

ชาวลุ่มน้ำห้วยยาง-อำเภอปทุมราชวงศา

ชาวลุ่มน้ำเซบก-อำเภอลืออำนาจ

ชาวลุ่มน้ำเซบาย-อำเภอหัวตะพาน

ชาวลุ่มน้ำห้วยปลาแดกและเซบาย-อำเภอเมืองอำนาจเจริญ

ซึ่งทั้ง 7 อำเภอนี้ มีประเพณีและวัฒนธรรม มีแหล่งโบราณคดีด้านศาสนา

และศิลปกรรมยุคโบราณอีกด้วย


งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์  ถ้ำแสงแก้วและถ้ำแสงเพชร ที่โด่งดังและศักดิ์สิทธิ์


เทพนิมิตพระเหลา  เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ในวัด

พระเหลาเทพนิมิต  เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มาก และจัดว่างดงาม

ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


เกาะแก่งเขาแสนสวย  มีเกาะ แก่งที่สวยงาม มีภูเขาและป่าไม้สวงามมากมาย


เลอค่าด้วยผ้าไหม  ผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าลายขิดที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง

เช่น ผ้าไหมบ้านเปือย ผ้าไหมบ้านสร้อย-บ้านจานลาน ผ้าลายขิดบ้านคำพระ


ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม ความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนามักเป็นสร้อยของ

คำขวัญประมาณว่า ชาวเมืองจิตใจดีงามอะไรทำนองนี้คล้ายๆจังหวัดอื่นๆที่ใส่ไว้





คําขวัญประจําจังหวัดหนองบัวลำภู




คําขวัญประจําจังหวัดหนองบัวลำภู

เป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2536 พร้อมกับจังหวัด

อำนาจเจริญและจังหวัดสระแก้ว


มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า


“ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 

อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ 

แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ 

นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ”



คําขวัญประจําจังหวัดหนองบัวลำภู มีความหมายว่า



ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์เมื่อครั้ง

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จยกกองทัพมาที่หนองบัวลำภูเมื่อปี พ.ศ. 2117

ที่ไปช่วยเจ้ากรุงหงสาวดี ที่เวียงจันทน์ เพราะตอนนั้น อยุธยาเป็นเมืองขึ้น

ของหงสาวดีอยู่


อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ  เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 50 ของ

ประเทศไทย ทิวทัศน์ริมทะเลสาบเหนือเขื่อนอุบลรัตน์และเกาะแก่งต่างๆ

มีน้ำตกสวยงามมากมาย


แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว หลวงปู่ขาว อนาลโย พระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

สายของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต


เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ ถ้ำเอราวัณตั้งอยู่บนเขาหินแข็ง ชาวบ้านเรียก

ภูเขาลูกนี้ว่า ผ้าถ้ำช้าง


นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน เป็นชื่อของจังหวัด หนองบัวลำภู

เป็นชื่อเดิมในสมัยก่อน






คําขวัญประจําจังหวัดอุบลราชธานี




คําขวัญประจําจังหวัดอุบลราชธานี

มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า



“ อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี

 มีปลาแซ่บหลาย หาดทรายแก่งหิน 

ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม 

งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์

 ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น 

ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล ”


คําขวัญประจําจังหวัดอุบลราชธานี




คําขวัญประจําจังหวัดอุบลราชธานี มีความหมายว่า



อุบลเมืองดอกบัวงาม ดอกบัวเป็นดอกไม้ประจำ จ.อุบลราชธานี ซึ่งตอน

ย้ายเมืองมาตั้งที่ใหม่นามเจ้าเมืองก็มีความหมายว่าดอกบัวด้วยเช่นกัน

พระประทุมวรราช สุริยวงศ์


แม่น้ำสองสี แม่น้ำโขงกับแม่น้ำมูนไหลมาสบกันที่ จ.อุบลราชธานี แม่น้ำทั้ง 2 มี

สีคนละสีกัน คนท้องถิ่นเลยเรียกว่า "โขงสีปูน มูนสีคราม"


มีปลาแซ่บหลาย มีปลาน้ำจืดจากทั้งแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูน ซึ่งมีรสชาติดี


หาดทรายแก่งหิน ริมฝั่งแม่น้ำมีหาดทราย เช่นหาดทรายวัดใต้ กลางลำน้ำมี

เกาะแก่งที่บางแห่งมีความงามเลื่องชื่อ เช่น แก่งตะนะ แก่งสะพือ สามพันโบก


ถิ่นไทยนักปราชญ์ มีนักปราชญ์ ครูเพลง อย่าง ครู สลา คุณวุฒิ  หมอลำฉวีวรรณ

พันธุ ศิลปินแห่งชาติปี 2536 ช่างศิลป์อย่าง อุส่าห์ จันทรวิจิต และ ประดับ ก้อนแก้ว

และอื่นๆอีกมากมาย


ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา  ประเพณีแห่เทียนพรรษาที่มีมาตั้งแต่

สมัยรัชกาลที่ 5 งานบุญงานศาสนามาอย่างยาวนาน


ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม สามารถรับชมพระอาทิตย์ขึ้น

ได้เป็นจุดแรกของประเทศไทย มีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม


ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นแหล่งภูมิปัญญาที่มีช่างฝีมือในการทอผ้า ช่างศิลป์

ช่างเงิน ช่างคำ และช่างหล่อ มากมาย


ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล 





คําขวัญประจําจังหวัดอุดรธานี




คําขวัญประจําจังหวัดอุดรธานี

เป็นจังหวัดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่ม

จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ของประเทศไทย และ

เป็นศูนย์กลางพื้นที่ลุ่มน้ำโขง

คําขวัญประจําจังหวัดอุดรธานี



มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า


“ กรมหลวงประจักษ์สร้างเมือง

ลือเลื่องแหล่งธรรมมะ อารยธรรมห้าพันปี 

ธานีผ้าหมี่ขิด ธรรมชาติเนรมิตทะเลบัวแดง ”


คําขวัญประจําจังหวัดอุดรธานีมีความหมายว่า


กรมหลวงประจักษ์สร้างเมือง พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์

ศิลปาคม ได้สถาปนา อุดรธานี ให้เป็นเมืองสำคัญของหัวเมืองฝ่ายเหนืออย่าง

เป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 4 ปี พ.ศ. 2436


ลือเลื่องแหล่งธรรมมะ วัดป่าสถานที่ปฏิบัติธรรมะ และเผยแพร่ธรรมะของ

พระอริยสงฆ์เจ้าสาย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่มีอยู่หลายแห่ง


อารยธรรมห้าพันปี อารยธรรมบ้านเชียงมรดกโลก 5,000 ปี ได้รับการยกย่อง

ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรม เมื่อปีพ.ศ. 2538


ธานีผ้าหมี่ขิด ทอผ้าขิดและผ้ามัดหมี่ ซึ่งเป็นผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัด


ธรรมชาติเนรมิตทะเลบัวแดง หนองหานทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่

ของจังหวัดอุดร มีบัวแดง หรือ “บัวสาย” อยู่เยอะมากมายสวยงาม

ตระการตามาก มีทุ่งทะเลบัวแดง แหล่งชมทุ่งดอกไม้ตามธรรมชาติ

ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย






คําขวัญประจําจังหวัดอ่างทอง




คําขวัญประจําจังหวัดอ่างทอง

เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง  เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง


มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า


“  พระสมเด็จเกษไชไย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ 

วีรไทยใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง โด่งดังจักสาน 

ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน ”


คําขวัญประจําจังหวัดอ่างทอง มีความหมายว่า



พระสมเด็จเกษไชไย  1 ใน 3 ตระกูลพระสมเด็จที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์

 ( โต พรหมรังสี )


หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัดม่วง จ.อ่างทอง


วีรไทยใจกล้า ศึกบางระจัน มีวีรชนจากเป็นชาว วิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

เช่น  นายดอก นายทองแก้ว ยังมีนายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง

ชาวบ้านสีบัวทอง อำเภอแสวงหา  หรือนักรบผู้กล้าอีก เช่น ขุนรองปลัดชู


ตุ๊กตาชาววัง ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ของชาวตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก


โด่งดังจักสาน หัตถกรรมเครื่องหวาย ของชาวอำเภอโพธิ์ทอง


ถิ่นฐานทำกลอง หัตถกรรมการทำกลองของชาวบ้านปากน้ำ ตำบลเอกราช

อำเภอป่าโมกซึ่งเป็นแหล่งทำกลองที่มีคุณภาพดีและมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย


เมืองสองพระนอน มีพระนอนมากกว่า ๒ องค์ แต่ที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองและมี

พุทธลักษณะงามมากสององค์คือพระนอนที่วัดขุนอินทประมูล


อำเภอโพธิ์ทอง พระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล (เป็นพระพุทธไสยาสน์

ที่ใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว 50 เมตร ) กับพระนอนวัดป่าโมก

พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกวรวิหาร อำเภอป่าโมก





คําขวัญประจําจังหวัดหนองคาย




คําขวัญประจําจังหวัดหนองคาย


เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน




“ วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส

 สะพานไทย-ลาว ”





วีรกรรมปราบฮ่อ เป็นที่ตั้งทัพและเขตต่อสู้กันระหว่างฝ่ายไทยและโจรฮ่อ 

หลายครั้งไปที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพอยู่ที่เมืองหนองคาย อีกด้วย


หลวงพ่อพระใส หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิ

รูปปางมารวิชัย ชาวจังหวัดหนองคายนับถือ ว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และเป็นที่

เคารพสักการะอย่างยิ่ง


สะพานไทย-ลาว สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์)

สะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก





คําขวัญประจําจังหวัดสุรินทร์




คําขวัญประจําจังหวัดสุรินทร์

เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หรือ "อีสานใต้"


มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า


“ สุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม 

ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน 

ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม ”



คําขวัญประจําจังหวัดสุรินทร์มีความหมายว่า


สุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ มีชื่อเสียงระดับโลก ด้านการเลี้ยงช้าง


ผ้าไหมงาม สุรินทร์มีการทอผ้าไหมที่ขึ้นชื่อในเรื่อการทอผ้าไหมปักทอง

ที่สวยงามมากติด 1 ใน 10 เมืองทอผ้าไหมในประเทศไทย


ประคำสวย สุรินทร์มีการประคำเงินขึ้นชื่อ ที่อำเภอเขวาสินรินทร์


ร่ำรวยปราสาท มรดกทางวัฒนธรรม โบราณสถาน มีปราสาทกระจายอยู่

มากที่สุดในประเทศไทย และมีปราสาทที่อายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

คือปราสาทภูมิโปน


ผักกาดหวาน ผักกาดดองที่หวานอร่อยขึ้นชื่อ


ข้าวสารหอม มีข้าวสารที่ปลูกที่ทุ่งกุลาร้องไห้ และอร่อยหอมที่สุดในโลก


งามพร้อมวัฒนธรรม เทศกาลท่องเที่ยวประเพณีมากมายหลายแห่ง





คําขวัญประจําจังหวัดสุราษฎร์ธานี




คําขวัญประจําจังหวัดสุราษฎร์ธานี

เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบน มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศ


มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า


“ เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ 

ไข่แดง แหล่งธรรมะ ”



คําขวัญประจําจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความหมายว่า

คําขวัญประจําจังหวัดสุราษฎร์ธานี





เมืองร้อยเกาะ มีเกาะน้อยใหญ่มากมายเช่น เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า ฯลฯ


เงาะอร่อย เงาะโรงเรียนมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศ และปลูกกันมากในจังหวัดสุราษ


หอยใหญ่ หอยนางรม ของขึ้นชื่ออีกอย่างนึงของจังหวัดสุราษ


ไข่แดง ไข่เค็มไชยาของฝากของดีประจำจังหวัด ที่ใครไปใครมาต้องแวะ

ซื้อหาไปเป็นของฝากกัน


แหล่งธรรมะ  สวนโมกข์พลาราม หรือวัดธารน้ำไหล สวนโมกข์ พุทธทาส





คําขวัญประจําจังหวัดสุพรรณบุรี




คําขวัญประจําจังหวัดสุพรรณบุรี


เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 107 กิโลเมตร





“ เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ 

เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม 

สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน 

ภาษาถิ่นชวนฟัง ”





เมืองยุทธหัตถี การกระทำยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กับ

พระมหาอุปราชาแห่งพม่า ที่ ต. หนองสาหร่าย ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

มหาราชกษัตริย์ไทย สามารถรักษาเอกราชเอาไว้ได้


วรรณคดีขึ้นชื่อ วรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน


เลื่องลือพระเครื่อง พระผงสุพรรณจากกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  เป็นหนึ่งใน



รุ่งเรืองเกษตรกรรม แม่น้ำสุพรรณบุรี(แม่น้ำท่าจีน) ไหลผ่าน แถมยังมีบึงฉวาก 

บึงน้ำขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ อ. เดิมบางนางบวชราว 2,000 ไร่ ช่วยหล่อเลี้ยง

การเกษตรของจังหวัด และยังเป็นแหล่งปลูกแห้ว ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอีกด้วย
 

สูงล้ำประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุสถานมีการค้นพบมากมายที่นี่ ยังเป็นหน้าด่าน

รับศึก มีความหมายทางประวัติศาสตร์อีกด้วย


แหล่งปราชญ์ศิลปิน พระธรรมปิฎก แอ๊ด คาราบาว สุรพล สมบัติเจริญ  

พุ่มพวง ดวงจันทร  ไวพจน์ เพชรสุพรรณ สายัณห์ สัญญา ศรเพชร ศรสุพรรณ 

เสรี รุ่งสว่าง ขวัญจิต ศรีประจันต์ แม่บัวผัน จันทร์ศรี เป็นต้น


ภาษาถิ่นชวนฟัง เป็นเอกลักษณ์สำเนียงคนสุพรรณ ที่เรียกว่าพูดเหน่อ 





คําขวัญประจําจังหวัดสุโขทัย




คําขวัญประจําจังหวัดสุโขทัย

เป็นราชธานีเก่าของประเทศไทยในสมัยโบราณ สมัยสุโขทัย มี

พระมหากษัตรย์สุโขทัย ที่ริเริ่มสร้างอาณาจักรรวมไปถึงการประดิษฐ์

อักษรไทยให้ลูกหลานได้ใช้กัน

คําขวัญประจําจังหวัดสุโขทัย



มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า


“ มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย 

เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา 

งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ 

สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข ”



คําขวัญประจําจังหวัดสุโขทัยมีความหมายว่า


มรดกโลกล้ำเลิศ ปี 2534 อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยจึงได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ร่วมกับเมืองศรีสัชนาลัยและกำแพงเพชร


กำเนิดลายสือไทย อักษรไทยพ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น ให้เราได้ใช้กันมาถึงทุกวันนี้


เล่นไฟลอยกระทง งานประเพณีเล่นไฟลอยกระทงของ จ. สุโขทัย ที่มีชื่อเสียง


ดำรงพุทธศาสนา ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราช ประชาชนในยุคนั้นมีความสงบสุข ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม มีการถือศีลสังคมโดยรวมมีความสงบสุขร่มเย็น


งามตาผ้าตีนจก ผ้าซิ่นตีนจกของ ชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยวอพยพจากเมืองพวน แคว้นเชียงขวาง ประเทศลาว มักนิยมใส่กันในประเพณีสำคัญ


สังคโลกทองโบราณ เครื่องสังคโลก ของดีเมือง สุโขทัย เป็นเครื่องปั้นดินเผาคุณภาพดี มีการเคลือบผิวและตกแต่งลวดลายงดงาม เผาด้วยความร้อนสูง ที่ผลิตขึ้นในอาณาจักรสุโขทัย โดยมีแหล่งผลิตที่เมืองศรีสัชนาลัย และที่เมืองสุโขทัย


รวมไปถึงเครื่องทองโบราณ


สักการแม่ย่าพ่อขุน เทวรูปแม่ย่าประดิษฐานในศาลบริเวณศาลากลางจังหวัดสุโขทัย แม่ย่า (นางเสือง) เป็นพระมารดาของพระองค์ พ่อขุนรามคำแหง


รุ่งอรุณแห่งความสุข ชื่อจังหวัด สุโขทัย ซึ่งมาจากคำสองคำคือ สุข+อุทัย หมายความว่า "รุ่งอรุณแห่งความสุข"




คําขวัญประจําจังหวัดสิงห์บุรี




คําขวัญประจําจังหวัดสิงห์บุรี

จังหวัดสิงห์บุรีตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร

142 กิโลเมตร


มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า


“ ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน 

นามกระฉ่อนช่อนแม่ลา เทศกาลกินปลาประจำปี ”


คําขวัญประจําจังหวัดสิงห์บุรีมีความหมายว่า


ถิ่นวีรชนคนกล้า ชาวบ้านบางระจัน สุดยอดนักรบชาวบ้านในสมัย

เสียกรุงศรีอยุทธยาครั้งที่ 2  ซึ่งเป็นชุมชนรวมตัวกันเล็กๆแต่สามารถ

ต่อต้านทัพพม่าได้อย่างน่าชื่นชม


คู่หล้าพระนอน พระนอนจักรสีห์ เป็นพระพุทธรูปไสยาสน์ ปางโปรดอสุรินทราหู

ประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร จังหวัดสิงห์บุรี

เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี


นามกระฉ่อนช่อนแม่ลา  ปลาช่อนแม่ลาเป็นปลาที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสิงห์บุรี


เทศกาลกินปลาประจำปี งานเทศกาลกินปลาขึ้นในเขตศาลากลางจังหวัด

เป็นโอกาสอันดีที่จะได้ลิ้มชิมรสปลาช่อนแม่ลา แบบของแท้ต้นตำรับ





คําขวัญประจําจังหวัดสระบุรี




คําขวัญประจําจังหวัดสระบุรี

เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย


คําขวัญประจําจังหวัดสระบุรี



มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า


“ พระพุทธบาทสูงค่า เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 

ฐานผลิตอุตสาหกรรม เกษตรนำล้ำแหล่งเที่ยว 

หนึ่งเดียวกะหรี่ปั๊บนมดี 

ประเพณีตักบาตรดอกไม้งาม 

เหลืองอร่ามทุ่งทานตะวัน ลือลั่นเมืองชุมทาง ”


คําขวัญประจําจังหวัดสระบุรี มีความหมายว่า


พระพุทธบาทสูงค่า มีรอยพระพุทธบาทอยู่แล้วที่เขาสุวรรณบรรพต

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ได้จัดให้เป็นพระพุทธบาทสระบุรีเป็นพระอารามหลวง

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธบาท


เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนดินกักเก็บน้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย


ฐานผลิตอุตสาหกรรม ภาคกลางส่วนใหญ่เป็นฐานของอุตสาหกรรมอยู่แล้ว

หลายจังหวัด รวมถึงจังหวัดสระบุรีด้วยเช่นกัน


เกษตรนำล้ำแหล่งเที่ยว ถึงจะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมแต่จังหวัดสระบุรีก็

เป็นแหล่ง เกษตรกรรมด้วยเช่นกัน ทั้งไร่องุน ฟาร์มโคนม ยังเป็นแหล่ง

ท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สำคัญอีกด้วย


หนึ่งเดียวกะหรี่ปั๊บนมดี ของขึ้นชื่อคือ นมโค และของฝากคือ กะหรี่ปั๊บ


ประเพณีตักบาตรดอกไม้งาม ประเพณีตักบาตรดอกไม้  เป็นประเพณี

ประจำปีของจังหวัดสระบุรีโดยจัดที่ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร

อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี


เหลืองอร่ามทุ่งทานตะวัน ทุ่งทานตะวัน สระบุรีสวยงาม ตระการตา

เป็นอย่างมาก


ลือลั่นเมืองชุมทาง สระบุรีเป็นชุมทางสายสำคัญไปสู่จุดหมายปลายทาง

ยังอีกหลายๆเป็นเสมือนด่านผ่านระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ





วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คําขวัญประจําจังหวัดสระแก้ว




คําขวัญประจําจังหวัดสระแก้ว

เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยแยกออกมาจาก

จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2536


มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า


“ ชายแดนเบื้องบูรพา ป่างามน้ำตกสวย 

มากด้วยรอยอารยธรรมโบราณ 

ย่านการค้าไทย-เขมร ”


คําขวัญประจําจังหวัดสระแก้ว มีความหมายว่า



ชายแดนเบื้องบูรพา เป็นจังหวัดชายแดนด้านตะวันออกของประเทศไทย

ติดกับประเทศกัมพูชา


ป่างามน้ำตกสวย มีป่างามมี อุทยานแห่งชาติมรดกโลก อย่าง อุทยานแห่งชาติ

ปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา มีพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติ


มากด้วยรอยอารยธรรมโบราณ  รอยอารยธรรมโบราณปรากฏอยู่ทั่วทุกพื้นที่

ของจังหวัด โดยเฉพาะปราสาทหินสด๊กก๊อกธม ปราสาทอารยธรรมขอมโบราณ

ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก


ย่านการค้าไทย-เขมร ตลาดโรงเกลือ เป็นตลาดที่มีพรมแดนติดกับประเทศ

กัมพูชา






คําขวัญประจําจังหวัดสมุทรสาคร




คําขวัญประจําจังหวัดสมุทรสาคร

จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี

จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489

คําขวัญประจําจังหวัดสมุทรสาคร



มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า


“ เมืองประมง ดงโรงงาน 

ลานเกษตร เขตประวัติศาสตร์ ”


คําขวัญประจําจังหวัดสมุทรสาคร มีความหมายว่า



เมืองประมง เป็นจังหวัดชายทะเล ตั้งอยู่ปากแม่น้ำท่าจีน ปากอ่าวไทยเป็นช่วง

รอยต่อระหว่างน้ำจืดและน้ำเค็ม มีทั้งการทำประมงพื้นบ้านและประมงขนาดใหญ่

ในระดับอุตสาหกรรม


ดงโรงงาน จังหวัดสมุทรสาครมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัด

สมุทรสาคร จำนวนกว่า 4-5 พันแห่ง


ลานเกษตร อำเภอบ้านแพ้วเป็นแหล่งผลิตสินค้าในเชิงเกษตรกรรมส่งขายไป

ยังตลาดสินค้าสำคัญในภาคกลาง


เขตประวัติศาสตร์ เป็นดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์  เป็นเมือง

ประวัติศาสตร์ที่มีบันทึกไว้ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา สมัย พระเจ้าเสือเสด็จ

ประพาสทางชลมารคกำเนิดเป็นเรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ผู้จงรักภักดี

จังหวัดนี้เดิมเรียกว่า ”ท่าจีน”





คําขวัญประจําจังหวัดสมุทรสงคราม




คําขวัญประจําจังหวัดสมุทรสงคราม

มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของประเทศ คือประมาณ 416.7 ตารางกิโลเมตร


มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า


“ เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2 

แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม ”


คําขวัญประจําจังหวัดสมุทรสงคราม มีความหมายว่า


เมืองหอยหลอด ดอนหอยหลอด เป็นสันดอนตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กลอง

เป็นสถานที่ที่พบหอยหลอดจำนวนมาก


ยอดลิ้นจี่ ลิ้นจี่ ราชินีผลไม้แห่งสมุทรสงคราม ของดีสมุทรสงคราม


มีอุทยาน ร.2 อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

หรือ อุทยาน ร.2 ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ต.อัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม


แม่กลองไหลผ่าน เป็นแม่น้ำสำคัญสายหนึ่งในภาคตะวันตก เกิดจากแม่น้ำแควใหญ่

และแควน้อย ไหลมาบรรจบกันที่ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

ไหลผ่านจังหวัดราชบุรี สมุทรสงคราม และไหลลงสู่ปากอ่าวไทยที่อำเภอเมือง

จังหวัดสมุทรสงคราม


นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร ประดิษฐานอยู่ใน

พระอุโบสถวัดเพชรสมุทรวรวิหารหรือที่เรียกว่าวัดบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปสำคัญ

ของชาวจังหวัดสมุทรสงคราม





คําขวัญประจําจังหวัดสมุทรปราการ




คําขวัญประจําจังหวัดสมุทรปราการ

เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดย

พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร 

และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489




“ ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ 

ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ 

สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี 

ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม ”





ป้อมยุทธนาวี ป้อมพระจุลจอมเกล้า หรือเรียกสั้นๆว่า "ป้อมพระจุล" เป็นป้อม

ปราการทางน้ำ ตั้งอยู่ที่ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัด

สมุทรปราการ เคยใช้เป็นที่ยิงต่อสู้กับเรือรบฝรั่งเศสในวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112


พระเจดีย์กลางน้ำ เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ที่ก่อสร้าง

พระสมุทรเจดีย์เป็นเกาะที่มีน้ำล้อมรอบ 


ฟาร์มจระเข้ใหญ่ ฟาร์มจระเข้ฯ สมุทรปราการ เป็นฟาร์มจระเข้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก


งามวิไลเมืองโบราณ มี เมืองโบราณที่จำลองโบราณสถานจากจังหวัดต่างๆ 

มาไว้ที่นี่มากมายให้ได้เที่ยวชมกัน


สงกรานต์พระประแดง เป็นประเพณีของชาวไทยรามัญ มีการแห่นกแห่ปลาเล่น 

น้ำสงกรานต์ มีการเล่นสะบ้า ( บ่อนสะบ้า) สนุกสนานมาก


ปลาสลิดแห้งรสดี อาหารที่ขึ้นชื่อของชาวบางบ่อ จังหวัด สมุทรปราการ 

เป็นของฝากชั้นดีเมื่อมาเยือนที่นี่


ประเพณีรับบัว ประเพณีของชาวบางพลี  จะมีขบวน เรือแห่หลวงพ่อโตจำลอง 

และ ขบวนเรือที่หมู่สวยงามที่ตกแต่งมาแข่งขันกัน


ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม เป็นแหล่งของนิคมอุตสาหกรรม มีโรงงานตั้งอยู่

มากมายเป็นจังหวัดสำคัญด้านอุตสาหกรรมอีกแห่งนึงของไทย





วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คําขวัญประจําจังหวัดสตูล




คําขวัญประจําจังหวัดสตูล

สตูล มาจากคำภาษามลายูว่า สโตย แปลว่ากระท้อน ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีมากในท้องถิ่น


มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า


“  สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์ ”


คําขวัญประจําจังหวัดสตูล มีความหมายว่า


 สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์


แปลตรงตัวไปเลยครับ สงบ เป็นความหมายที่รวมทั้งศาสนา ทั้ง พุทธ

อิสลามไว้ด้วย


สะอาดคือเป้าหมายและความเป็นเมือง ธรรมชาติบริสุทธิ์ ก็เช่นกัน มีทั้ง

“อุทยานแห่งชาติตะรุเตา”  ซึ่งมีเกาะทั้งสิ้น  51 เกาะ ได้รับการยกย่องจาก

องค์การ UNESCO ให้เป็นมรดกแห่งอาเซียน เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติ

อุดมสมบูรณ์ หลากหลาย


ในปี พ.ศ.2525 อุทยานแห่งชาติตะรุเตาได้รับการยกย่องจากองค์การ

UNESCO ให้เป็น มรดกแห่งอาเชียน (ASEAN Heritage Parks and Reserves)






คําขวัญประจําจังหวัดสงขลา




คําขวัญประจําจังหวัดสงขลา

คำขวัญเดิมนั้นคือ นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล

เสน่ห์สะพานป๋า เฟื่องฟ้าสุดสวย จนมาเปลี่ยนเป็นปัจจุบันคือ

คําขวัญประจําจังหวัดสงขลา



มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า


“ นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ 

เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า 

ศูนย์การค้าแดนใต้ ”


คําขวัญประจําจังหวัดสงขลา มีความหมายว่า


นกน้ำเพลินตา อุทยานนกน้ำคูขุด อุทยานนกน้ำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

ซึ่งอยู่ในพื้นที่อำเภอสทิง


สมิหลาเพลินใจ หาดสมิหลา  สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่มีชื่อเสียงของสงขลา

มีความสวยงามเป็นอย่างมาก


เมืองใหญ่สองทะเล ถูกขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้าน คือทะเลอ่าวไทย

และทะเลสาบสงขลา


เสน่ห์สะพานป๋า สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุด

ในประเทศไทย


ศูนย์การค้าแดนใต้ ศูนย์กลางแห่งธุรกิจภาคใต้ เป็นเมืองการค้าใหญ่

ของภาคใต้






คําขวัญประจําจังหวัดสกลนคร




คําขวัญประจําจังหวัดสกลนคร

เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนตั้งแต่

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

คําขวัญประจําจังหวัดสกลนคร




มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า


“ พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง 

งามลือเลื่องหนองหาน แลตระการปราสาทผึ้ง 

สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม ”


คําขวัญประจําจังหวัดสกลนคร มีความหมายว่า



พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน ตามตำนาน เป็นสถานที่ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมา

โปรดชาวเมืองหนองหาร หลวง และกล่าวว่าบริเวณนี้เป็นที่บรรจุพระบาท

ของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า กุกสันโธ

โกนาคมโน กัส สะโป และโคตมะ


พระตำหนักภูพานคู่เมือง พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เป็นศูนย์รวมจิตใจ

พสกนิกรเมืองสกลนคร


งามลือเลื่องหนองหาน ทะเลสาบหนองหานหรือ หนองหารหลวง เป็น

ทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และใหญ่

เป็นอันดับ 2 ของประเทศ เป็นรองจากบึงบอระเพ็ด


แลตระการปราสาทผึ้ง งานแห่ปราสาทผึ้งในเทศกาลออกพรรษา


สวยสุดซึ้งสาวภูไท ภูไทเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่เป็นลำดับ 2 ของสกลนคร

สาวภูไทขึ้นชื่อเรื่องความสวยงามอ่อนหวานเป็นธรรรมชาติ น่าดึงดูดใจยิ่งนัก


ถิ่นมั่นในพุทธธรรม เป็นแหล่งชุมนุมสายพระป่าหรือพระสงฆ์ธรรมยุตนิกาย

ฝ่ายวิปัสสนา








วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คําขวัญประจําจังหวัดศรีสะเกษ





คําขวัญประจําจังหวัดศรีสะเกษ

อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง


มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า


“ หลวงพ่อโตคู่บ้าน ถิ่นฐานปราสาทขอม 

ข้าว หอม กระเทียมดี มีสวนสมเด็จ 

เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม 

เลิศล้ำสามัคคี ”


คําขวัญประจําจังหวัดศรีสะเกษ มีความหมายว่า



หลวงพ่อโตคู่บ้าน  ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวงพ่อโตวัดมหาพุทธาราม

ซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติการสร้างเมืองศรีสะเกษ


ถิ่นฐานปราสาทขอม จังหวัดศรีสะเกษมีปราสาทหินจำนวนมาก เป็นแหล่ง

ท่องเที่ยวที่สำคัญมากเช่นกัน


ข้าว หอม กระเทียมดี เป็นพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกข้าว ปลูกหอมปลูกกระเทียม

ที่มี คุณภาพมากที่สุดของประเทศ


มีสวนสมเด็จ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

80 พรรษาแห่งแรกของประเทศไทย


เขตดงลำดวน ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีต้นลำดวนขึ้นอยู่ทั่วไปเป็นจำนวนมาก

ซึ่งเป็นทั้งต้นไม้ และดอกไม้ ประจำจังหวัดอีกด้วย


หลากล้วนวัฒนธรรม มี ชนพื้นเมืองที่มีหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งเขมร ลาว ส่วย

และเยอ ต่าง วัฒนธรรม กันและหลากหลายกัน


เลิศล้ำสามัคคี  ใช้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวและเตือนใจชาวจังหวัดศรีสะเกษ

ให้ได้รู้ถึงความสามัคคี







คําขวัญประจําจังหวัดเลย





คําขวัญประจําจังหวัดเลย

เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ห่างจากกรุงเทพมหานคร

ประมาณ 520 กิโลเมตร


มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า


“ เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ”



คําขวัญประจําจังหวัดเลย มีความหมายว่า



เมืองแห่งทะเลภูเขา มีภูเขามากมายเป็นภูเขาที่มีพื้นที่ราบหลายแห่ง



สุดหนาวในสยาม  มีภูมิประเทศลาดเอียงไปทางเหนือจึงทำให้อากาศแผ่

ปกคลุมหนาวเย็นเพราะไม่มีแนวเขาสูงกั้น


อากาศหนาวเย็น เป็นแหล่งเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่สำคัญแห่งหนึ่ง

ของประเทศ





คําขวัญประจําจังหวัดพะเยา




คําขวัญประจําจังหวัดพะเยา

เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบน พะเยาเป็นจังหวัดในกลุ่มล้านนาตะวันออก

ร่วมกับเชียงราย


คำขวัญประจำจังหวัดมีอยู่ว่า


“ กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต 

ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง 

บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง 

งามลือเลื่องดอยบุษราคัม ”



คําขวัญประจําจังหวัดพะเยา มีความหมายว่า


กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือ

และ อันดับ 4 ของประเทศไทย


ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง เป็นพระประธานอยู่ในวิหาร วัดศรีโคมคำ

จังหวัดพะเยา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2034  ปางมารวิชัย ศิลปะสกุลช่างเชียงแสน

เป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในดินแดนล้านนา


บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง กษัตริย์แห่งแคว้นพะเยา เป็นผู้มีสติปัญญา

เฉลียวฉลาด มีอิทธิฤทธิ์มาก


งามลือเลื่องดอยบุษราคัม วัดอนาลโยทิพยาราม หรือ ดอยบุษราคัม เป็น

อุทยานพระพุทธศาสนา มีศาสนสถานที่สวยงามเช่น พระพุทธรูปศิลปสุโขทัย

องค์ใหญ่ พระพุทธรูปปางต่างๆ พระพุทธลีลา พุทธคยา เก๋ง จีน ประดิษฐาน

เจ้าแม่กวนอิม หอพระแก้วมรกตจำลองทำด้วยทองคำ







วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คําขวัญประจําจังหวัดลำพูน




คําขวัญประจําจังหวัดลำพูน

จังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ ยาวนาน เคยเป็นที่ตั้งของนครหริภุญชัย 

ในสมัยพระนางจามเทวี




“ พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง 

กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวีศรีหริภุญไชย ”




พระธาตุเด่น พระธาตุหริภุญไชย เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร 

ตั้งอยู่ใจกลาง เมืองลำพูน 


พระรอดขลัง พระรอด วัดมหาวัน เป็นหนึ่งในพระเบญจภาคี ชื่อดังของไทย 

สุดยอดพระเครื่องของประเทศ 


ลำไยดัง  งานเทศกาลลำไย  แหล่งกำเนิดลำไยเป็นแหล่งผลิตลำไยใหญ่

ที่สุดของประเทศ


กระเทียมดี เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของคนในจังหวัดลำพูน ที่มีความสำคัญ 

และมีการปลูกกันมากในทุกอำเภอ


ประเพณีงาม ตามแบบฉับบเมืองเหนือล้านนา


จามเทวีศรีหริภุญไชย เป็นสตรีทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญชัย 

อันเป็นอาณาจักรโบราณในภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน






คําขวัญประจําจังหวัดลำปาง




คําขวัญประจําจังหวัดลำปาง

เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบล้อมรอบด้วยภูเขา

มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน


คําขวัญประจําจังหวัดลำปาง




มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า


“ ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม 

งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก ”


คําขวัญประจําจังหวัดลำปาง มีความหมายว่า


ถ่านหินลือชา พบถ่านหินลิกไนต์จำนวนมหาศาล ที่อำเภอแม่เมาะ ยังมีการ

ค้นพบสุสานหอยขม อายุกว่า 13 ล้านปี


รถม้าลือลั่น เป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่ยัง คงมีรถม้าเหลืออยู่

สามารถให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนได้นั่งรถม้าเยี่ยมชนเมืองได้เป็น

เอกลักษณ์ของจังหวัดอีกอย่างนึง


เครื่องปั้นลือนาม เครื่องปั้นเมืองเขลางค์ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญคือ

ผลิตภัณฑ์เซรามิกลำปาง ดินขาวลำปางถือว่าเป็นดินขาวที่ดีที่สุด

ใหญ่ที่สุดในประเทศมีโรงงานผลิตเครื่องเซรามิก กว่า 200 แห่ง


งามพระธาตุลือไกล พระธาตุลำปางหลวง เป็นโบราณสถานสำคัญ ที่ตั้งอยู่

ในบริเวณซากเมืองโบราณลัมพกัปปะนคร ตามประวัติพระนางจามเทวีเคย

เสด็จมานมัสการเป็นที่ประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะ

ของชาวลำปาง


ฝึกช้างใช้ลือโลก ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ. ลำปาง เป็นศูนย์ฝึกลูกช้าง

ซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในโลก อยู่ในความดูแลของฝ่ายอุตสาหกรรม

ป่าไม้ภาคเหนือ